วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขอโทษประเทศไทย โฆษณาที่โดนแบน

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ
การพ่นน้ำของปลาเสือพ่นน้ำ
การพ่นน้ำของปลาเสือพ่นน้ำ
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (วงศ์: Toxotidae) คำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง นักยิงธนู ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) ในอันดับ Perciformes

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ลักษณะ

ปลาในวงศ์นี้มีขนาดตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 40 เซนติเมตร ปากยาว จะงอยปากยืดได้ มีลำตัวป้อม แบนข้าง ตากลมโต ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 4-5 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน เกล็ดเป็นแบบสาก

[แก้] การกระจายพันธุ์

มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Toxotes ใน 7 ชนิด พบกระจายทั่วไปในเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงรัฐควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีในออสเตรเลีย อาศัยทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย พบมากบริเวณปากแม่น้ำหรือแถบชายฝั่ง

[แก้] พฤติกรรม

อาศัยเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ แมลง ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีความสามารถพิเศษคือ พ่นน้ำได้ไกลถึง 1-2 เมตร เพื่อยิงแมลงให้ตกลงน้ำเป็นอาหาร สมชื่อภาษาอังกฤษว่า "ปลานักยิงธนู" (Archer Fish) ถ้าแมลงยังไม่ตก จะยิงซ้ำสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพิกัดมุมยิงได้อีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะปลาในวงศ์นี้มีลิ้นที่ยาว และมีร่องลึกที่ลิ้น ประกอบกับจะงอยปากที่กว้างพอดี เมื่อหุบเหงือกลงจะพ่นน้ำออกมาได้ในลักษณะเดียวกับปืนฉีดน้ำ
นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดขึ้นงับเหยื่อเหนือน้ำได้สูงถึง 1 ฟุต วางไข่ในฤดูฝนแถบชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ โดยมีจำนวนตั้งแต่ 20,000-150,000 ฟอง ไข่มีขนาด 0.4 มิลลิเมตร โดยวางไข่แบบปล่อยลอยไปตามกระแสน้ำ พ่อแม่ปลาไม่ดูแลไข่
บางชนิดอาจตกเป็นเกมบ้าง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั้งสิ้น 7 ชนิด เป็นชนิดที่ค้นพบใหม่ 1 ชนิด พบในไทย 3 ชนิด ได้แก่ เสือพ่นน้ำ, เสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ และ เสือพ่นน้ำน้ำกร่อย

[แก้] การจำแนก

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ปูก้ามดาบ

ปะการังเขากวาง

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาฉลามขาว
Whiteshark-TGoss1.jpg
ปลาฉลามขาว (อังกฤษ: Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังเหลืออยู่

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] วิวัฒนาการ

ภาพปลาฉลามขาวบนผิวน้ำ
ปลาฉลามขาวมีความสามารถคล้ายกับปลาฉลามสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ที่สามารถตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากปลาที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวน้ำ จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา และปลาฉลามขาวมีสัมผัสไวเป็นพิเศษ ที่สามารถตรวจจับได้แม้มีความแรงเพียง 1/1000,000,000 โวลท์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสามารถตรวจจับแสงแฟลชได้ในระยะ 1600 กิโลเมตร ปลาชนิดอื่นๆ ส่วนมากไม่มีพัฒนาการถึงระดับนี้ แต่มีความสามารถที่คล้ายๆ กันนี้ ที่ลายด้านข้างลำตัว
การที่ปลาฉลามขาวจะประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อ ที่มีความว่องไวสูงอย่างสิงโตทะเล สัตว์เลือดเย็น อย่างปลาฉลามขาวได้พัฒนา ระบบรักษาความร้อนภายในร่างกาย ให้สามารถรักษาอุณหภูมิให้สูงกว่าอุณหภูมิของน้ำภายนอกได้ โดยใช้ Rete mirabile ซึ่งเส้นใยเส้นเลือด ที่มีอยู่รอบตัวของปลาฉลามขาวนี้ จะรักษาความร้อนของเลือดแดงที่เย็นตัวลง ด้วยเลือดดำที่อุ่นกว่าจากการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ ความสามารถนี้ทำให้ปลาฉลามขาวรักษาระดับอุณหภูมิในตัว สูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลรอบตัวประมาณ 14ํC (เมื่อล่าในเขตหนาวจัด) โดยที่หัวใจและเหงือกยังคงอยู่ที่อุณหภูมิของระดับน้ำทะเล
ปลาฉลามขาวสามารถอดอาหารได้นานราว 1 สัปดาห์โดยที่ช่วงนั้นไม่ต้องกินอะไร อุณหภูมิของร่างกายส่วนใหญ่ สามารถลดต่ำลงจนเท่ากับอุณหภูมิของระดับน้ำทะเล อย่างไรก็ตาม ก็ยังจัดว่าปลาฉลามขาวป็นสัตว์เลือดเย็นอยู่ดี เพราะว่าอุณหภูมิของร่างกายไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ

[แก้] ขนาด

ปลาฉลามขาวตัวเต็มวัย จะมีขนาดประมาณ 4-4.8 เมตร หนักประมาณ 880-1100 กิโลกรัม ตัวเมียมักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ยังเป็นที่สงสัยอยู่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้พยายามรวบรวมข้อมูลเท่าทีมี แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ทุกวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ขนาดตัวปกติของปลาฉลามขาวที่โตเต็มที่ จะอยู่ราวๆ 6 เมตร หนักประมาณ 1900 กิโลกรัม ในช่วง 10 ปีนี้ กินเนสบุ๊ค ออฟ เวิลด์เรคคอร์ด (Guinness Book of World Records) ได้บันทึกปลาฉลามขาวที่ตัวใหญ่ที่สุดไว้ได้ 2 ตัวซึ่งตัวหนึ่งยาว 11 เมตรจับได้ที่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ใกล้กับพอท แฟร์รี่ (Port Fairy) ในปี 1870 และอีกตัวหนึ่ง ยาว 11.3 เมตร ติดอวนชาวประมงที่เมือง New Brunswick ประเทศแคนาดา ในปี 1930
จากข้อมูลนี้เอง จึงนำมาประเมินขนาดมาตรฐานของ ปลาฉลามขาวปกติที่โตเต็มวัย นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ตั้งคำถาม เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการวัทั้งสองครั้งนั้น ซึ่งไม่มีบันทึกใด มีขนาดที่ใกล้เคียงกับ 2 กรณีที่พบนี้เลย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จึงมีข้อสงสัยที่ว่า การบันทึกที่เมือง New Brunswick อาจเป็นการบันทึกที่มีการเข้าใจผิดในสายพันธุ์ ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเป็นปลาฉลามสายพันธุ์อื่น (Basking shark) มากกว่า และทั้งสองตัวที่ถูกบันทึกก่อนหน้านี้ ก็มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน ข้อสงสัยนี้ด้รับการพิสูจน์โดย เจ.อี. โรนัลด์ (J.E. Reynolds) การประเมินขนาดด้วยกราม ซึ่งหลักฐานที่เหลือจากค้นพบครั้งนั้นคือ กระดูกกรามที่เก็บรักษาไว้ ซึ่งผลการประเมินคาดว่าขนาดของฉลามที่พบใน พอท เฟอร์รี่ น่าจะยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งสันนิษฐานว่าจะมีการบันทึกขนาดผิดพลาด ในบันทึกต้นฉบับ

[แก้] ถิ่นที่อยู่อาศัย

ภาพปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาวอาศัยอยู่ตามแถบทะเลชายฝั่งเกือบทั่วทุกมุมโลก ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 12ํC - 24ํC แต่จะอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณอ่าวประเทศออสเตรเลีย ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แคลิฟอเนีย และตอนกลางของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ที่หนึ่งที่หนาแน่นที่สุดอยู่ที่ ไดร์เออร์ ไอร์แลนด์ (Dyer Island, South Africa) ที่แอฟริกาใต้ ทั้งยังสามารพบได้ในเขตร้อนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ปลาฉลามขาวเป็นปลาน้ำลึก แต่ที่บันทึกจำนวน ส่วนมากจะมาจากการสำรวจแถบทะเลชายฝั่ง บริเวณที่มีสิงโตทะเล แมวน้ำ โลมาอาศัยอยู่ ได้มีความพยายามที่จะสำรวจในบริเวณน้ำลึก ถึงระดับ 1280 เมตร ผลปรากฏว่าจะพบมากบริเวณผิวน้ำมากกว่า

[แก้] พฤติกรรมการล่า

ภาพปลาฉลามขาวบนผิวน้ำ
ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์กินเนื้อ เหยื่อที่มันเลือกจะล่ามีปลา (รวมทั้งปลากระเบนและฉลามที่ตัวเล็กกว่า) ปลาโลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล เต่าทะเล และเต่าตะหนุ ทั้งยังมีชื่อในเรื่องกินไม่เลือก แม้กระทั่งของที่กินไม่ได้ ปลาฉลามขาวที่ยาวประมาณ 3.4 เมตร จะเลือกเหยื่อที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม ปีเตอร์ คลิมลี (Peter Klimley) ได้ทำการทดสอบโดยใช้เหยื่อเป็นซากแมวน้ำ หมูและแกะ ผลปรากฏว่าฉลามจู่โจมทุกครั้ง แต่กลับปฏิเสธซากเหยื่อที่ทั้ง 3 ชนิดที่ให้พลังงานน้อยกว่า ยังมีข้อถกเถียงว่าระหว่างปลาฉลามขาวกับวาฬเพชฌฆาต ว่าตัวไหนจู่โจมมนุษย์มากกว่ากัน
ปลาฉลามขาวจะใช้สัมผัสพิเศษในการหาตำแหน่งเหยื่อจากระยะไกล และใช้สัมผัสในด้านการดมกลิ่น และการฟังเพื่อยืนยันตำแหน่งอีกที ในระยะประชิดฉลามจะใช้สายตาเป็นหลัก ปลาฉลามขาวมีชื่อเสียงในเรื่องเป็นนักล่าที่โหดร้าย เป็นเครื่องจักรสังหาร และมีเทคนิคในการซุ่มโจมตี โดยจู่โจมเหยื่อจากด้านล่าง จากการศึกษาพฤติกรรมพบว่า ปลาฉลามขาวจะจู่โจมบ่อยครั้งในช่วงตอนเช้า ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามีการพบเห็นปลาฉลามขาวน้อยลง หลังจากผ่านช่วงเวลานั้นไป อัตราความสำเร็จในการล่าช่วงเช้าอยู่ที่ 55% ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก แล้วตกลงเหลือ 40% ในช่วงต่อมา หลังจากพ้นช่วงเช้าไปแล้วก็จะหยุดล่า
เทคนิคการล่าของปลาฉลามขาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของเหยื่อ ในการล่าแมวน้ำปลาฉลามขาวจะจู่โจมแมวน้ำจากด้านล่างด้วยความเร็วสูง เล็งตรงกลางลำตัว ซึ่งความเร็วในการจู่โจมจะสูง จนกระทั่งฉลามกระโจนขึ้นเหนือผิวน้ำได้ และยังจะตามล่าต่อหลังจากที่จู่โจมครั้งแรกพลาดเป้าอีกด้วย สำหรับแมวน้ำบางชนิดปลาฉลามขาวจะใช้วิธีลากลงมาใต้น้ำ จนกระทั่งแมวน้ำหมดแรงดิ้น สำหรับสิงโตทะเลจะใช้วิธีจู่โจมที่ลำตัว แลวค่อยๆ ลากมากิน ทั้งยังมีวิธีกัดส่วนสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว แล้วรอให้เลือดไหลจนตายอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้ใช้จู่โจมแมวน้ำบางชนิด ส่วนในการล่าโลมา ปลาฉลามขาวจะจู่โจมจากด้านบน หรือด้านล่างเพื่อหลบหลีกการตรวจจับด้วยโซนาร์ของโลมา

[แก้] พฤติกรรมทั่วไป

ภาพปลาฉลามขาวเหนือผิวน้ำ ที่บริเวณประเทศเม็กซิโก
พฤติกรรมและรูปแบบสังคมของปลาฉลามขาวยังไม่เป็นที่แน่ชัด จากการทดลองล่าสุดพบว่า ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์สังคมมากกว่าที่เราคาด ที่แอฟริกาใต้ ปลาฉลามขาวจะเหมือนมีลำดับชั้นทางสังคม ขึ้นอยู่กับขนาด เพศ และตำแหน่งจ่าฝูง ตัวเมียจะมีอำนาจมากกว่า ตัวผู้ตัวใหญ่กว่าจะมีอำนาจมากกว่าตัวเล็กกว่า เจ้าถิ่นจะมีอำนาจมากกว่าผู้มาเยือน เมื่อมีการล่าจะสั่งการกันอย่างเป็นระบบ และเมื่อมีความขัดแย้งก็จะมีวิธีการ เพื่อหาทางออก แทนที่จะสู้กันถึงตาย ฉลามที่สู้กันเองพบเห็นน้อยมาก แต่บางครั้งก็พบฉลามตัว ที่มีรอยกัดซึ่งเป็นขนาดรอยฟันฉลามตัวอื่น ทำให้สันนิษฐานได้ว่าปลาฉลามขาวเป็นสัตว์ที่หวงแหนอานาเขต เมื่อมีผู้รุกราน ก็จะทำการเตือนด้วยการกัดเบาๆ เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของอาณาเขต
ปลาฉลามขาวเป็นฉลามไม่กี่สายพันธุ์ ที่พบว่าสามารถโผล่หัวขึ้นมาเหนือน้ำและมองหาเหยื่อได้ และยังสามารถกระโจนขึ้นเหนือน้ำได้ (spy-hopping) มีข้อสงสัยว่าพฤติกรรมนี้ อาจเป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้มาจากมนุษย์ เพราะว่าฉลามมีประสาทรับรู้กลิ่นที่ไวมาก เมื่อปลาฉลามขาวพบกับนักท่องเที่ยวที่มีกลิ่นตัวแรง มันก็มีความอยากรู้อยากเห็น และแสดงความฉลาดของมันออกมา เมื่อสถานการณ์อำนวย
ฉลามขาวมีจมูกที่ไวต่อกลิ่นเลือดเป็นอย่างมาก เพราะฉลามขาวสามารถได้กลิ่นเลือดเพียง1หยดที่อยู่ไกลออกไปถึง 3 กิโลเมตร

[แก้] ปลาฉลามขาวกับมนุษย์

ภาพปลาฉลามขาวใต้น้ำ
เรื่องของปลาฉลามขาวจู่โจมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันมากผ่านทางภาพยนตร์ อย่างเช่นเรื่อง จอร์ (Jaws) ผลงานของสตีเว่น สปิวเบอร์ก (Steven Spielberg) แสดงให้เห็นถึงภาพฉลามที่โหดร้าย กินคน และเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับมนุษย์ ให้ฝังในใจของผู้ชม ซึ่งอันที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เหยื่อของฉลามตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีรายงานยืนยันฉลามจู่โจมมนุษย์เพียง 31 รายในรอบ 200 ปี และเป็นส่วนน้อยที่เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตจะเป็นกรณีที่ฉลามลองกัดดูมากกว่า เพราะอยากรู้อยากเห็น ปลาฉลามขาวยังลองกัดพวกสิ่งของอื่นๆ เช่น ทุ่นลอยน้ำ และของที่มันไม่คุ้นเคยอื่นๆ และบางครั้งก็จะใช้เพียงริมฝีปากกัดโดนนักเล่นเซิร์ฟ เพราะอยากรู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่
ในกรณีอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากความเข้าใจผิด ที่จู่โจมนักเล่นเซิร์ฟจากด้านล่างเพราะเห็นเพียงเงา ดูแล้วคล้ายกับแมวน้ำ หลายกรณีเกิดขึ้นในช่วงที่ทัศนะวิสัย ไม่เอื่ออำนวยกับการมองเห็น และในกรณีที่ประสาทสัมผัสด้านอื่นมีประสิทธิภาพลดลง หรืออาจเป็นเพราะว่า สายพันธุ์ของปลาฉลามขาวไม่ค่อยถูกปากกับรสชาติของมนุษย์ หรือรสชาติไม่ค่อยคุ้นเคย
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎีที่ว่า ทำไมอัตราการจู่โจมมนุษย์ที่ร้ายแรงถึงต่ำ มันไม่ใช่เพราะว่าปลาฉลามขาวไม่ชอบเนื้อมนุษย์ แต่เป็นเพราะมนุษย์สามารถหนีขึ้นจากน้ำได้ หลังจากถูกจู่โจมครั้งแรก ในปี 1980 มีรายงานของ จอห์น แม็คคอสเกอร์ (John McCosker) บันทึกไว้ว่า นักดำน้ำที่ดำเดี่ยวคนหนึ่ง ถูกปลาฉลามขาวจู่โจมจนสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป แต่ยังว่ายน้ำหนีมาจนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ให้ขึ้นมาจากน้ำได้ ก่อนที่จะถูกปลาฉลามขาวเผด็จศึก จึงสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบการจู่โจมของปลาฉลามขาว คือ จู่โจมสร้างบาดแผลสาหัสก่อนในครั้งแรก แล้วรอให้เหยื่อหมดแรงหรือเสียเลือดจนตาย แล้วค่อยเข้าไปกิน แต่มนุษย์สามารถขึ้นจากน้ำได้ (อาจหนีขึ้นเรือ) ด้วยความช่วยเหลือของคนอื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่คุ้นเคยสำหรับเหยื่อของปลาฉลามขาว ทำให้การจู่โจมครั้งนั้นล้มเหลวไป
อีกสันนิษฐานหนึ่งก็คือ มนุษย์ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากพอสำหรับปลาฉลามขาว เพราะว่าปลาฉลามขาวมีระบบการย่อยที่ค่อยข้างช้า และร่างกายของมนุษย์มีกระดูก กล้ามเนื้อและไขมันมากเกินไป ส่วนใหญ่ปลาฉลามขาวจะเป็นฝ่ายหมดความสนใจ มนุษย์ที่ถูกโจมตีครั้งแรกก่อนเอง และเหตุที่มนุษย์สียชีวิต ก็เพราะสูญเสียเลือดมากเกินไปจากการสูญเสียอวัยวะบางส่วน มากกว่าที่จะเป็นการสูญเสียอวัยวะสำคัญ หรือถูกกินทั้งตัว
นักชีววิทยาบางคนให้ความเห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากถูกปลาฉลามขาวจู่โจมในรอบ 100 ปี มีน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกสุนัขกัดเสียอีก แต่ความเห็นนี้ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะว่ามนุษย์มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสุนัขมากกว่าปลาฉลามขาว จึงมีโอกาสมากกว่าเมื่อเทียบกับฉลาม มนุษย์ได้มีความพยายามที่จะประดิษฐ์ชุดป้องกันฉลาม แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการป้องกันปลาฉลามขาว คือ อิเล็กทรอนิค บีคอน (electronic beacon) ซึ่งนักประดาน้ำและนักเล่นเซิร์ฟจะใช้กัน โดยมันจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนสัมผัสพิเศษของปลาฉลามขาว

[แก้] ทัวร์ปลาฉลามขาว

การล่อปลาฉลามขาว
การดำน้ำในกรง กลายเป็นธุรกิจทัวร์ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ที่ต้องการความตื่นเต้นแบบใหม่ และผู้ที่ต้องการศึกษาปลาฉลามขาวอย่างใกล้ชิด ผู้มาชมปลาฉลามขาว จะอยู่ในกรงที่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะเป็นจุดที่เห็นปลาฉลามขาวได้ชัดเจนที่สุด โดยที่ยังปลอดภัยอยู่ และเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสัตว์นักล่าที่ตัวใหญ่ และดุร้ายอย่างปลาฉลามขาว ย่อมเป็นสถานการณ์ที่ทำให้อดรีนาลีนฉีดพล่านไปทั่วร่างกาย เป็นประสบการณ์ที่น่าค้นหา ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตขึ้นอย่างมาก ในแถบอ่าวของออสเตรเลียที่มีพบปลาฉลามขาวบ่อยครั้ง วิธีการล่อปลาฉลามขาว คือ การใช้เหยื่อที่ชุ่มไปด้วยเลือดไปเป็นเป้าล่อ เรียกความสนใจของปลาฉลามขาว ซึ่งการกระทำดังกล่าว กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก ว่าจำทำให้ปลาฉลามขาวเริ่มคุ้นเคยกับมนุษย์มากขึ้น และจะมีพฤติกรรมเข้าหามนุษย์แลกกับอาหาร ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ที่อันตราย มีการกล่าวหาว่า การใช้เหยื่อที่ชุ่มด้วยเลือด ล่อให้ปลาฉลามขาวเข้ามาใกล้กรง อาจเป็นการยั่วโมโหให้ปลาฉลามขาวจู่โจมกรง จึงได้มีการเลี่ยงให้ใช้เหยื่อล่อให้ค่อนข้างห่างกรงออกไป เพื่อที่ปลาฉลามขาวจะได้ว่ายผ่านไปเฉยๆ
บริษัทที่ทำธุรกิจทัวร์ประเภทนี้ กล่าวว่า พวกเขาต้องตกเป็นแพะรับบาป ด้วยเหตุที่ผู้คนพยายามหาเหตุผลใส่ร้าย ว่าทำไมปลาฉลามขาวจึงจู่โจมมนุษย์ และยังบอกอีกว่า มีอัตราคนถูกฟ้าผ่าตาย มากกว่าอัตราคนที่ถูกฉลามเล่นงานเสียอีก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้อย่างจริงจัง และสรุปผลให้ได้ว่าการล่อฉลามแบบนี้ จะทำให้พฤติกรรมของปลาฉลามขาวเปลี่ยนไป ก่อนที่จะออกกฎหมายห้ามการกระทำเช่นนี้
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีคำแนะนำให้ผู้ที่ต้องการดำน้ำเพื่อชมปลาฉลามขาว ต้องทำการล่อในเขตที่ปลาฉลามขาวจะออกล่าเหยื่อเท่านั้น และต้องห่างจากเขตของคนทั่วไป ไม่ใช่ล่อให้ฉลามมาหาถึงที่ โดยฉลามที่มาจะเป็นเพียงฉลามที่ต้องการล่าซากที่เหลือเท่านั้น และเมื่อมันไม่ได้รับอาหาร มันก็จะจากไปเอง และจะไม่คิดว่าการล่อแบบนี้จะทำให้มันได้อาหาร เพื่อตัดสายสัมพันธ์ระหว่างคนกับปลาฉลามขาวออกจากกัน ซึ่งนโยบายนี้ได้ถูกนำเสนอไปที่ทางรัฐบาล
ธุรกิจทัวร์ปลาฉลามขาวทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เมื่อเทียบกับการทำประมงที่มีรายได้จำกัด กรามของปลาฉลามขาวคู่เดียว มีค่าถึง 20000 ยูโร เป็นรายได้ที่สูงมากเมื่อเทียบกับการทำประมงต่อวัน อย่างไรก็ตามสัตว์ที่ตายแล้ว ก็ทำได้เพียงเศษเงินเมื่อเทียบกับสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทัวร์ปลาฉลามขาวเป็นธุรกิจที่มั่นคงกว่า และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ตัวอย่าง ของบริษัททัวร์บริษัทหนึ่ง ซึ่งมีเรืออยู่ในสังกัด 6 ลำ เรือแต่ละลำบรรทุกคนได้ราว 30 คนต่อวัน ถ้าคนหนึ่งต้องจ่ายค่าชมราวๆ 50 ยูโรถึง 150 ยูโร ดังนั้นในเวลา 1 วัน บรรดาฉลามที่มาแวะเวียนที่เรือนี้ จะทำกำไรให้พวกเขามากถึง 9000 ยูโรถึง 27000 ยูโรต่อเรือแต่ละลำ

[แก้] ดูเพิ่ม

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (อังกฤษ: Bermuda Triangle) หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมปีศาจ (อังกฤษ: Devil's Triangle) เป็นพื้นที่สมมุติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว วัฒนธรรมสมัยนิยมได้ให้เหตุผลของการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติหรือกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตนอกโลก[1] หลักฐานซึ่งบันทึกไว้ได้ระบุว่า เหตุการณ์การหายสาบสูญของอากาศยานและเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ได้รับรายงานอย่างไม่ถูกต้องหรือถูกเสริมแต่งโดยนักประพันธ์ในช่วงหลัง และหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้กล่าววว่า จำนวนและธรรมชาติของการหายสาบสูญไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการหายสาบสูญไปในมหาสมุทรส่วนอื่น ๆ ของโลก

เนื้อหา

[แก้] พื้นที่

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีเนื้อที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ระหว่างจุด 3 จุด ได้แก่ เปอร์โตริโก ปลายสุดของรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และเกาะเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นเกาะตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกและดินแดนในปกครองของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ครอบคลุมช่องแคบฟลอริดา หมู่เกาะบาฮามาส และหมู่เกาะแคริบเบียนทั้งหมด แต่แนวคิดที่เป็นทีรู้จักกันแพร่หลายกว่า เนื่องจากปรากฎในงานเขียนจำนวนมาก ระบุว่า จุดปลายสุดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้แก่ ชายฝั่งแอตแลนติกของไมอามี, ซานฮวน เปอร์โตริโก, และเกาะเบอร์มิวดา ด้วยเหตุว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งด้านใต้โดยรอบหมู่เกาะบาฮามาสและช่องแคบฟลอริดา
พื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีเรือผ่านพื้นที่นี้เป็นประจำทุกวันมุ่งหน้าไปยังเมืองท่าในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และหมู่เกาะแคริบเบียน เรือสำราญที่ผ่านพื้นที่นี้ก็มีมากเช่นกัน เรือเที่ยวเองก็มักจะมุ่งหน้าไปและกลับระหว่างฟลอริดากับแคริบเบียนอยู่เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรทางอากาศอย่างหนาแน่น ทั้งอากาศยานพาณิชย์และส่วนตัว ซึ่งมุ่งหน้าไปยังฟลอริดา แคริบเบียน และทวีปอเมริกาใต้

[แก้] ที่มา

การกล่าวอ้างถึงการหายสาบสูญอย่างผิดปกติในพื้นที่เบอร์มิวดาปรากฎในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1950 ในบทความของแอสโซซิเอด เพลส โดยเอ็ดเวิร์ด ฟาน วินเคิล โจนส์[2] อีกสองปีต่อมา นิตยสารเฟท ได้ตีพิมพ์ "ความลึกลับที่ประตูหลังของเรา"[3] บทความสั้นโดย จอร์จ แอกซ์. แซนด์ ซึ่งครอบคลุมเครื่องบินและเรือจำนวนมากที่หายสาบสูญไป รวมไปถึงการหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ฝูงบินกองทัพเรือสหรัฐซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดทีบีเอ็ม อแวงเกอร์ห้าลำ ซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกบิน บทความของแซนด์ได้เป็นงานเขียนแรก ๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นแนวคิดอันเป็นที่รู้จักกันดีของพื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา อันเป็นสถานที่ที่เกิดการหายสาบสูญอย่างหาสาเหตุไม่ได้ การหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ได้ปรากฎในนิตยสารอเมริกันลีเจียน ฉบับประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1962[4] โดยกล่าวอ้างว่าผผู้บังคับฝูงบินได้กล่าวว่า "เรากำลังเข้าสู่เขตน้ำขาว ไม่มีอะไรดูปกติเลย เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน น้ำทะเลเป็นสีเขียว ไม่ใช่สีขาว" นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสืบสวนของกองทัพเรือยังได้ระบุว่าเครื่องบินทั้งหมดได้ "บินสู่ดาวอังคาร" บทความของแซนด์เป็นงานเขียนชิ้นแรกซึ่งเสนอว่ามีปัจจัยเหนือธรรมชาติที่มีผลต่อเหตุการณ์หายสาบสูญของฝูงบิน 19 ในนิตยสารอาร์กอสซี ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 บทความของวินเซนต์ เอช. แกดดิส "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาร้ายกาจ" ซึ่งโต้แย้งว่าฝูงบิน 19 และการหายสาบสูญไปอื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของเหตุการณ์ประหลาด ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่[5] ในปีต่อมา แกดดิสได้ขยายบทความของเขาไปเป็นหนังสือ ชื่อว่า อินวิสซิเบิลฮอริซอนส์ (ขอบฟ้าที่มองไม่เห็น)[6]
ถัดมาในปี ค.ศ. 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า "Limbo of the Lost" ถัดจากนั้น ก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งก็มียอดจำหน่ายดีแทบทุกเล่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า "The Devil's Triangle" ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นเนื้อหาสำหรับเป็นคนที่ชื่นชอบความลึกลับเกี่ยวกับสามเหลี่ยเบอร์มิวดาเป็นอันมาก เป็นที่น่าสังเกตคือ หนังสือแทบทุกเล่มมุ่งประเด็นไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้ มาจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น เช่นมาจากมนุษย์ต่างดาว หรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างก็หาหลักฐานและทฤษฎีมาถกเถียงกันและบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีอาณาบริเวณที่กว้างมากจาก ฟลอริด้า-เปอร์โต ริโก-เกาะเบอร์มิวดา กินพื้นที่ประมาณ ห้าแสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการจะค้นหาอะไรๆจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีองค์กรของรัฐ เอกชน ต่างให้ความสนใจในการสำรวจ โดยหวังว่าจะเจอหลักฐานอะไรก็ตามที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนบริเวณนี้ได้
จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2553 โจเซฟ โมนาแกน ได้เสนอว่า สาเหตุที่เรือจมและเครื่องบินตก เกิดจากแก๊สมีเทนที่ก่อตัวขึ้น โดยแก๊สดังกล่าวอยู่ใต้ท้องทะเลในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา โดยเมื่อแก๊สเหล่านี้ขึ้นสู่พื้นผิว มันจะทะยานสู่อากาศ และขยายตัวเป็นวงกว้างและก่อตัวเป็นฟองแก๊สขนาดใหญ่ เมื่อเรือลำใดผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น ก็จะเข้าไปสู่ฟองแก๊สมีเทนขนาดยักษ์ จนทำให้เรือเหล่านี้สูญเสียการควบคุม และจมลงในที่สุด

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Cochran-Smith, Marilyn (2003). "Bermuda Triangle: dichotomy, mythology, and amnesia". Journal of Teacher Education 54: 275. doi:10.1177/0022487103256793. 
  2. ^ E.V.W. Jones (September 16, 1950). "unknown title, newspaper articles". Associated Press. 
  3. ^ George X. Sand (October 1952). "Sea Mystery At Our Back Door". Fate. 
  4. ^ Allen W. Eckert (April 1962). "The Lost Patrol". American Legion. 
  5. ^ อ้างอิงผิดพลาด: Invalid <ref> tag; no text was provided for refs named Gaddis.2C1964
  6. ^ Vincent Gaddis (1965). Invisible Horizons. 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

หอไอเฟล

หอไอเฟล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Logo monument classe.svg หอไอเฟล
Tour Eiffel
Tour eiffel at sunrise from the trocadero.jpg
ข้อมูล
ที่ตั้งธงชาติของฝรั่งเศส ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สถานะเสร็จสมบูรณ์
เริ่มก่อสร้าง31 มีนาคม พ.ศ. 2432
ก่อสร้างพ.ศ. 2430 - พ.ศ. 2432
(2 ปี 2 เดือน 5 วัน)
การใช้งานหอสังเกตการณ์ หอกระจายคลื่นวิทยุ
ความสูง
เสาอากาศ / ยอด324 เมตร (1,063 ฟุต)
หลังคา300.65 เมตร (986 ฟุต)
บริษัท
สถาปนิกสตีเฟน โซแวสตร์
วิศวกรโมริส โกชแล็งและเอมีล นูกูนิเยร์
นายจ้างกุสตาฟ ไอเฟล
อ้างอิง: Logo monument classe.svg อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์
หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] โครงสร้าง

ภาพเมื่อแรกสร้าง
หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครส์เลอร์ สูง 319 เมตร (1047 ฟุต)
น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น
หอไอเฟล

[แก้] เหตุการณ์

  • 10 กันยายน พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) - โทมัส เอดิสันได้เข้าชมหอไอเฟล
  • พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอคอยได้สร้างเสร็จ และเป็น 1 ในสิ่งก่อสร้างในงาน EXPO
  • พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - ฟ้าผ่าหอไอเฟล จึงได้มีการซ่อมยอดของหอ สูง 100 เมตร (330 ฟุต) และเปลี่ยนดวงไฟที่เสียหาย
  • พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) หอเสียตำแหน่งสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ให้แก่ตึกไครส์เลอร์
  • ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1925 - 1934) ประดับไฟ 3 ด้านใน 4 ด้านของหอ
  • พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เมื่อนาซีเยอรมันสามารถยึดปารีสได้แล้ว ชาวฝรั่งเศสได้ตัดลิฟท์ออก ทำให้ฮิตเลอร์ต้องปีนบันได 1,665 ขั้น แต่เขาไม่ปีน เขาให้เอาธงเยอรมันไปปักไว้บนหอแทน แต่ธงผืนแรกนั้นใหญ่เกินไป ในเวลาไม่นานก็ถูกลมพัดตกลง เขาจึงเปลี่ยนให้เอาธงผืนเล็กกว่าไปปักแทน ส่วนการซ่อมลิฟท์เป็นไปได้ยากในเวลาสงคราม
  • พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) เดือนสิงหาคม เมื่อฝ่ายพันธมิตรใกล้เข้ามา ฮิตเลอร์สั่ง Dietrich von Choltitz ให้เผาเมืองปารีส และหอทิ้ง แต่เขากลับฝืนคำสั่งไม่เผา หลังจากที่ ฝ่ายพันธมิตรยึดปารีสคืนได้ ลิฟท์ก็ถูกซ่อมให้ใช้งานได้ในไม่กี่ชั่วโมง
  • พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) วันที่ 3 มกราคม ไฟไหม้ยอดของหอ และในปีเดียวกันนั้นก็ได้นำเสาอากาศวิทยุไปติ้งตั้งบนยอดด้วย
  • ทศวรรษที่ 1980 ได้มีการเคลื่อนย้ายรื้อร้านอาหารที่เก่าแก่ในหอออก ไปสร้างใหม่ในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกาแทน
  • พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ได้มีการติดตั้งโคมไฟบนยอดของหอ
  • พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) วันที่ 28 พฤศจิกายน หอไอเฟลต้อนรับแขกคนที่ 200 ล้าน
  • พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) วันที่ 22 กรกฎาคม ไฟไหม้ยอดของหอ ในห้องเก็บของอีกครั้ง ใช้เวลาดับไฟประมาณ 40 นาที

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


Commons