วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติปลาคาร์ฟ


ประวัติปลาคาร์ฟ


ประวัติปลาคาร์ฟ

สายพันธุ์ โคฮากุ (Kohaku)8

ส.ค.

ประวัติความเป็นมาของปลาแฟนซีคาร์ฟ
Posted 08/08/2010 by siamwebcity in บทความ. ให้ความเห็น

ปลาแฟนซีคาร์พ (Fanct Carp) เป็นชื่อทีใช้เรียกปลาในสกุล (GENUS) เดียวกันกับปลาใน (crucian Carp) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า cyprinus carpio linn

ประวัติปิงปอง


ประวัติปิงปอง


ประวัติปิงปอง

ประวัติปิงปอง ความเป็นมา ประวัติกีฬา ปิงปอง TABLE TENNIS เทเบิลเทนนิส

ประวัติปิงปอง ประวัติกีฬา ปิงปอง เทเบิลเทนนิส (ข้อมูลจากการกีฬาแห่งประเทศไทย)




ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเทศใดในสี่ประเทศคือ อังกฤษ อเมริกา อินเดีย และ อัฟริกาใต้

เป็นประเทศต้นกำเนิดกีฬาเทเบิลเทนนิสกันแน่ เพียงแต่ประเทศอังกฤษได้รับการกล่าวถึงมากกว่าสาม

ประเทศข้างต้นผู้ค้นคิดก็ไม่มีการกล่าวถึงว่าเป็นท่านใด เพียงกล่าวว่าเคยเป็นกีฬาประจำราชสำนัก

ในสมัยศตวรรษที่ 12 ซึ่งทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่ประเทศอินเดียและอัฟริกาใต้ก็เคยเล่นมาก่อน

ด้วยกฎเกณฑ์ง่ายๆ วัสดุราคาถูก และประกอบได้อย่างง่ายดาย ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับ

ความนิยมกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระราชฐานและตามท้องถนน พระเจ้ายอร์จที่ 6

แห่งประเทศอังกฤษทรงโปรดฯ ให้ตั้งโต๊ะเทเบิลเทนนิสขึ้นในพระราชวังบัคกิงแฮมและ

ในสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2

ก็ทรงจัดกีฬาชนิดนี้ให้พระราชธิดา (เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ) ได้สนุกสนานที่พระราชวังบัลมอรอล

เช่นเดียวกับพระเจ้ายอร์จที่ 6 พระเจ้าซาร์แห่งเปอร์เชีย , บัณฑิตเนห์รูแห่งอินเดีย , และกษัตริย์ฟารุคแห่งอียิปต์ในอดีตก็ล้วนแต่เป็นผู้ส่งเสริมกีฬาชนิดนี้

เทเบิลเทนนิสได้รวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ให้ความคล่องตัวในการเล่น

ทำให้เคลื่อนไหวเท้าได้คล่องแคล่ว

มีความฉับไวทั้งในการรุก และความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็ว

รวมกันแล้วจึงทำให้เทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมาก นักจิตวิทยาทางอุตสาหกรรมได้เน้นให้ความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ที่ทำให้

ประสิทธิภาพในการทำงานของคนสูงขึ้น เขากล่าวว่าหลังจากได้เล่น

กีฬาเทเบิลเทนนิสสักเกมส์แล้ว คนงานจะกลับไปทำงานด้วยความสดชื่นและ

ด้วยพละกำลังที่เพิ่มขึ้นอย่างประหลาดเทเบิลเทนนิสจึงเป็นกีฬาที่ได้รับการพิจารณา

ว่าเป็นวิธีที่มีคุณค่าในการจะช่วยทำให้ระบบประสาทกับกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันได้ดีมากขึ้น
เมื่อครั้งสมัยเริ่มเล่นเทเบิลเทนนิสใหม่ๆ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นตามห้องรับรองของบ้าน

ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรียวัสดุที่ใช้ในสมัยนั้นส่วนมากเป็นวัสดุที่ทำขึ้นเอง

ลูกเทเบิลเทนนิสทำจากเส้นได้ ใช้หนังสือวางบนโต๊แทนตาข่าย

ไม้ที่ใช้ตีก็ตัดเอาจากกระดาษแข็งหนาๆ จากหนังสือเก่าๆ เกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้ แนะนำว่า ห้องที่ใช้เล่นควรจะตกแต่งอย่างโปร่งๆ

และเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ ควรจะปกปิดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

ไม้เทเบิลเทนนิสซึ่งผลิตขึ้นในขณะนั้น ทำด้วยยางหรือไม้คอร์ค และมักจะหุ้มด้วยยางหรือผ้าเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายกับโต๊ะ

และมีคุณสมบัติในการทำให้ลูกเทเบิลเทนนิสหมุน รูปร่างและวัสดุที่ใช้ยังคงแตกต่างๆ

กันไปเรื่อยๆ เพื่อยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน ด้ามจะยาวคล้ายไม้เทนนิส

ส่วนที่ใช้ตีนั้นข้างในกลวงและหุ้มด้วยแผ่นหนัง ทำให้มีรูปร่างคล้างกลองเล็กๆ ส่วนเกมส์หนึ่งๆ

จะจบลงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้แต้ม 21 แต้มก่อน
การนำลูกเทเบิลเทนนิสที่ข้างในกลวงซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์มาใช้นั้นทำให้การเล่นเทเบิลเทนนิสถูก
ปฏิวัติไปอย่างสิ้นเชิง ลูกเทเบิลเทนนิสแบบใหม่จะมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วน่าอัศจรรย

์และมีความแม่นยำสูงมาก กล่าวกันว่านักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนหนึ่งชื่อ JAME GIPP

หรือที่คนอื่นๆ กล่าวว่าเป็นบาทหลวง ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาและบังเอิญพบกับ

ลูกบอลสีต่างๆ ซึ่งเด็กๆ ใช้เป็นของเล่น และเมื่อกลับอังกฤษจึงนำมาให้กับ

กีฬาเทเบิลเทนนิสและพบว่ามีประโยชน์มาก จึงทำให้นักธุรกิจเกี่ยวกับสินค้ากีฬาพากันผลิตออกจำหน่าย

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้ผลักดันกีฬานี้ให้ก้าวหน้าไปมาก
การเริ่มแข่งขันอย่างมากมายทางการค้า ทำให้บริษัทฯ ต่างๆ จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของตนขึ้นมา

ชื่อต่างๆ ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เรียกสินค้าอย่างหรูหรา และมีอยู่บริษัทฯ หนึ่งชื่อ บริษัท ปราเกอร์ บราเธอร์ จำกัด

ได้ตั้งชื่อสินค้าของตนเองว่า “ปิงปอง” ซึ่งเกิดจากการเลียนเสียงของกีฬาชนิดนี้ โดยที่เสียง “ปิง”

มาจากไม้ปิงปองตีลูก และเสียง “ปอง” มาจากที่ลูกกระทบโต๊ะ
ในระหว่างที่ประชาชนนิยมเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นอย่างมากทั้งในอเมริกาและอังกฤษ

ความนิยมเริ่มลดน้อยลงจนกระทั่งMR. E.C. OODด้ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งจากการที่เขาได้เกิดอาการปวดหัว

และได้ไปซื้อยาในร้านขายยาและได้สังเกตเห็นแผ่นยางซึ่งตอกติดอยู่บนเคาท์เตอร์ ความคิดของเขาในพลันนั้นได้คิดถึงกีฬาเทเบิลเทนนิสว่า หากยางชนิดนี้ใช้ทำเป็นผิวสำหรับตีลูกปิงปองบนไม้ปิงปองคงจะวิเศษทีเดียว

มันคงจะทำให้ผู้เล่นควบคุมลูกได้ดีมากขึ้น

เขาจึงลืมอาการปวดหัวโดยที่ไม่รู้ตัว และได้ซื้อแผ่นยางไปจากร้านขายยานั้นไป

ตัดให้ได้สัดส่วนกับไม้และติดกาวเข้าด้วยกัน

เข้าไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่น้อย เริ่มต้นฝึกหัดและได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความวิเศษของ

เครื่องมือที่ได้ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ให้เขาสามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันระ

ดับนานาชาติและสามารถชนะแชมป์เทเบิลเทนนิสของอังกฤษลงได้

จากวันนั้นเป็นต้นมา ประชาชนก็หันกลับมานิยมเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสกันอีก จนกระทั้ง

ค.ศ.1904 กีฬาชนิดนี้กลับซบเซาลงอีกครั้ง และไม่ฟื้นตัวขึ้นมาอีกเลยจนกระทั่ง

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1921สมาคมปิงปองได้ตั้งขึ้นในอังกฤษและ

ยอมใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าปิงปองเนื่องจากกีฬาชนิดนี้มีลักษณะการเล่นที่คล้ายกับกีฬา

เทนนิสและมีโต๊ะเป็นส่วนประกอบจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมเทเบิลเทนนิสภายหลัง
ไอเวอร์ มอนทาเจอร์ บุตรชายของคุณหญิงสเวย์ธลิง ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้เกิดความสนใจในกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยมีเพื่อนๆ นิสิตสนใจและเข้าร่วมแข่งขันกัน ในไม่ช้าการแข่งขั้นระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งแรก คือระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ตและ

เคมบริดจ์ก็เริ่มต้นขึ้น และเป็นความคิดริเริ่มของ ไอเวอร์ มอนทาเจอร์

ในการใช้ชื่อมารดาของตนเองตั้งชื่อถ้วยว่า “สเวย์ธลิง คัพ”

(คล้ายกับกีฬาเทนนิสที่มีชื่อการแข่งขัน “โธมัส คัพ”) ซึ่งปัจจุบันก็คือการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่นักกีฬาเทเบิลเทนนิสทั่วโลกใฝ่ฝันมากที่สุด

สภาเทเบิลเทนนิสของโลกก่อตั้งขึ้นในอังฤษเมื่อปี ค.ศ.1826

ซึ่งเป็นรากฐานของสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาต

ิ ( INTERNATIONAL TABLE TENNIS FEDERATION , I.T.T.F.)

ซึ่งก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1939 ประกอบด้วยชาติต่างๆ มากกว่า 30 ชาติ โดยมีอังกฤษเป็นผู้นำและปัจจุบันสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาตินี้ได้มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศอังกฤษนี่เอง

ข้อมูลจาก...
1. หนังสือคู่มือการฝึกเทเบิลเทนนิส ขั้นพื้นฐาน / งานวิชาการกองการฝึกอบรม

สำนักพัฒนาบุคคลากรกีฬา การกีฬาแข่งประเทศไทย
2. อ.ณัฐวุฒิ เรืองเวส
3. อ.นิตย์ ตัณฑะเกยูร


ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส (ข้อมูลจากสยามกีฬา)
ที่มาของกีฬาเทเบิลเทนนิส (Table tennis) หรือปิงปอง ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ไม่มีประวัติความเป็นมาในสมัยโรมันหรือกรีกเช่นเดียวกับกีฬาประเภทอื่น แม้รัสเซียก็เคยอ้างว่าเป็นผู้คิดค้นมาก่อนใคร แต่อังกฤษอ้างว่าตนเป็นต้นกำเนิดแล้วก็ไม่มีใครไปคัดค้าน แต่มีผู้สันนิษฐานว่ามีที่มาเช่นเดียวกับลอนเทนนิส แต่แหล่งกำเนิดยังเป็นที่สงสัย Frank Monke ได้เขียนแนะนำไว้โดยให้ข้อสันนิษฐานว่ากำเนิดมาจากกีฬา 2 ชนิดคือ

1. กีฬาในร่มของเทนนิส เริ่มเล่นครั้งแรกในรัฐแมสซาชูเซตส์ ราวศตวรรษที่ 19 ( พ.ศ. 2433)


2. สันนิษฐานว่าเริ่มเล่นในอินเดีย โดยทหารอังกฤษได้นำมาเล่นเป็นกีฬากลางแจ้ง การเล่นจะใช้ไม้กระดานเป็นตาข่ายแบ่งแดน บ้างก็ว่ากำเนิดมาจากแอฟริกาใต้ แต่ที่หาหลักฐานได้คือ อังกฤษมีการโฆษณาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิสชายในหนังสือกีฬาของอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2423 แต่ลูกที่ใช้ในสมัยนั้น ( พ.ศ. 2393) ใช้ลูกบอลทำด้วยไม้ก๊อกหรือยางแข็ง ซึ่งแข็งเกินไป


จากการศึกษาค้นคว้าการริเริ่มของกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยพิจารณาถึงจุดร่วมกันของเทเบิลเทนนิส เทนนิส และแบดมินตัน จะเห็นได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการพัฒนาของเทนนิสมากกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ หลังศตวรรษที่ 19 เทเบิลเทนนิสเล่นกันในห้อง (ในที่ร่ม) ต่อมาได้มีผู้ประดิษฐ์ไม้ยางชนิดหนึ่งขึ้นมา จึงเล่นกันกลางแจ้ง แต่ถ้าเมื่อใดอากาศไม่ดีก็กลับมาเล่นในห้องอีก จึงเรียกกันว่า เทเบิลเทนนิสขนาดเล็ก


แม้จะมีคนคิดปิงปองขึ้นมาเป็นแบบย่อของกีฬาเทนนิส เมื่อใกล้จะสิ้นศตวรรษที่แล้วก็ตาม แต่ความจริงแล้ว เทเบิลเทนนิสเคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักในสมัยศตวรรษที่ 12 เราไม่ทราบว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้มาให้เราเล่นจนกระทั่งทุกวันนี้ แม้แต่ประเทศต้นกำเนิดดั้งเดิมทั้งอังกฤษ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งอินเดีย และแอฟริกาใต้ ล้วนแต่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่เกิดกีฬาชนิดนี้ แต่ก็มีคนส่วนมากยอมรับว่าปิงปองเริ่มมีครั้งแรกในอังกฤษ เพราะแม้แต่คนที่กล่าวว่าเทเบิลเทนนิสเริ่มเล่นในอินเดียและแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรก ยังเห็นพ้องกันว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่นั่นอาจจะมีส่วนนำปิงปองเข้ามายังประเทศทั้งสอง


ด้วยกฎเกณฑ์ง่ายๆ วัสดุที่มีราคาถูก และประกอบได้อย่างง่ายดายทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระราชฐาน และตามท้องถนน พระเจ้ายอร์จที่ 6 แห่งประเทศอังกฤษ ทรงโปรดฯ ให้ตั้งโต๊ะปิงปองขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัดหากีฬาชนิดนี้ไว้ให้พระราชธิดา (เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ) ได้สนุกสนานที่พระราชวังบัลมอรอลเช่นเดียวกับพระเจ้ายอร์จที่ 6 พระเจ้าซาร์แห่งปอเซีย บัณฑิตเนห์รูแห่งอินเดีย และกษัตริย์ฟารุคแห่งอียิปต์ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ส่งเสริมกีฬาทั้งนั้น นักกีฬาทุกประเภทได้ยอมรับว่า ปิงปองเป็นทางวิเศษที่จะกำหนดกีฬาเฉพาะตัวของเขา เพราะปิงปองรวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองให้ทั้งความคล่องตัวในการเล่น ทำให้ฟุตเวิร์กดีและมีความฉับไวทั้งในการบุกและความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็ว รวมกันแล้วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด นักจิตวิทยาทางอุตสาหกรรม ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคนสูงขึ้น เขากล่าวว่า หลังจากได้เล่นเทเบิลเทนนิสสักเกมแล้ว คนงานก็จะกลับไปทำงานด้วยความสดชื่น และด้วยพละกำลังที่เพิ่มขึ้นอย่างประหลาด เทเบิลเทนนิสจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิธีที่มีคุณค่าที่สุดที่จะทำให้สายตาและจิตใจสัมพันธ์กันได้ดีมากขึ้น


เมื่อเริ่มมีการเล่นใหม่ๆ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นในห้องรับแขกในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย วัสดุที่ใช้ในสมัยนั้นส่วนมากเป็นวัสดุที่ทำขึ้นเอง โดยมิได้เตรียมมาก่อน ลูกปิงปองทำจากเส้นด้าย ใช้หนังสือวางบนโต๊ะแทนตาข่าย ไม้ตีก็ตัดจากกระดาษแข็งหนาๆ ซึ่งหนังสือเก่าๆ ที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้ได้แนะนำว่าห้องที่ใช้เล่นปิงปองควรจะตกแต่งอย่างโปร่งๆ และเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ ควรจะปกปิดไม่ให้เกิดการสึกหรอหรือฉีกขาด


ในไม่ช้าวงการค้าเริ่มมองเห็นโอกาสที่จะหาผลประโยชน์จากเครื่องเล่นชนิดนี้ และเริ่มต้นผลิตวัสดุในการเล่นที่เหมาะสมกว่าที่เคยทำกันเองในขณะนั้น การแข่งขันระหว่างบริษัทผู้ผลิตก่อให้เกิดการตื่นตัวในกีฬาประเภทนี้อย่างมากมาย บริษัทที่กล่าวกันว่าเป็นบริษัทแรกที่เริ่มพัฒนากีฬาที่เรียกว่า เทเบิลในร่ม คือบริษัท Parker Brothers of Salem แห่งเมืองแมสซาชูเซตส์ เป็นบริษัทอเมริกันที่ผลิตสินค้ากีฬาทุกชนิด และได้ส่งสินค้าเข้าไปขายในอังกฤษ


ลูกปิงปองที่ผลิตขึ้นในลักขณะนั้นทำด้วยยางหรือไม้ก๊อก หรือมักจะหุ้มด้วยยางหรือผ้า เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายกับโต๊ะ และให้ลูกปิงปองหมุน รูปร่างและวัสดุที่ใช้ยังคงแตกต่างกันออกไปเรื่อยๆ ซึ่งตามความจริงแล้วไม่เคยมีขนาดมาตรฐานเลย มีด้ามยาว และส่วนที่ใช้ตีนั้นข้างในจะกลวง และหุ้มด้วยแผ่นหนัง ทำให้รูปร่างคล้ายกลองเล็กๆ ตาข่ายที่ใช้จะขึงข้ามโต๊ะระหว่างเก้าอี้ 2 ตัว เกมหนึ่งๆ จบลงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของผู้เล่นได้แต้ม 21 แต้ม ซึ่งกฎข้อนี้ยังไม่เคยเปลี่ยนจนปัจจุบันนี้


การนำลูกปิงปองที่ข้างในกลวง ซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ (Celluloid) มาใช้ทำให้การเล่นปฏิวัติไปโดยสิ้นเชิง ลูกปิงปองแบบใหม่ให้กำลังในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น่าอัศจรรย์ มีความแม่นยำสูง ส่วนความผิดพลาดมีบ้างเล็กน้อย ต่อมาอังกฤษเริ่มปรับปรุงการเล่นเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรก และมีนักเทเบิลเทนนิสชาวอังกฤษชื่อ Janes Gibb ได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาและบังเอิญได้พบลูกบอลสีต่างๆ ซึ่งเด็กๆ ใช้เป็นของเล่น เมื่อเขากลับประเทศอังกฤษจึงนำมาใช้กับเทเบิลเทนนิส และพบว่ามีประโยชน์มาก เมื่อนักธุรกิจได้เห็นจึงยอมรับความสำคัญของมันในทันที และเริ่มผลิตออกจำหน่าย จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้กีฬาประเภทนี้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น


การแข่งขันอย่างมากมายทางการค้าทำให้บริษัทต่างๆ จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของตน และมีการตั้งชื่อเรียกสินค้าอย่างหรูหรา ซึ่งปัจจุบันได้ล้มเลิกไปหมดแล้ว เช่น กอสสิมา วิฟท์เว็ฟท์ และฟลิม-แฟลม การเรียกชื่อ "ปิงปอง" นี้เลียนแบบมาจากเสียงซึ่งเกิดจากไม้ตีที่มีขนาดเล็ก และยาวขึ้นด้วยหนังลูกวัวทั้งสองด้าน เมื่อใช้ไม้ตีลูกเซลลูลอยด์จะมีเสียงดัง "ปิง" และเมื่อลูกตกลงกระทบพื้นจะมีเสียงดัง "ปอง" หลังจากนั้นเมื่อมีการปรับปรุงไม้ตี เสียงที่กระทบพื้นจะเปลี่ยนแปลงไป และเมื่อกีฬาชนิดนี้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็นเทนนิสบนโต๊ะ หรือเทเบิลเทนนิส


เมื่อประชาชนเริ่มตื่นเต้นและนิยมเล่นปิงปองกันอย่างมาก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้มีการติดตั้งอุปกรณ์การเล่นทั่วๆ ไป ซึ่งหลักจากนั้นคนก็เริ่มเบื่อกีฬาที่เรียกว่า ปิงปอง วิฟท์ เว็ฟท์ จนไม่มีใครเล่นอีก ต่อมา Mr. E.C. Good แห่งกรุงลอนดอน เป็นผู้ทำให้ปิงปองกลับมาเป็นที่นิยมเล่นกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขาเปลี่ยนมาสนใจเทเบิลเทนนิสโดยกะทันหัน เพราะเขามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงหาวิธีการที่จะบรรเทาอาการโดยที่ใจยังจดจ่อกับการเล่นปิงปองอยู่ เขาจึงไปซื้อยาที่ร้านขายยาและในขณะที่เขาจ่ายเงินค่ายาได้สังเกตเห็นแผ่นยางที่ตอกติดอยู่บนพื้นเคาน์เตอร์ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้านำยางแผ่นนี้ไปวางบนผิวไม้ตีปิงปองคงจะทำให้ควบคุมลูกได้ดีมากขึ้น เขาจึงได้ซื้อแผ่นยางไปจากร้านขายยา ตัดให้ได้สัดส่วนกับไม้แล้วก็ติดกาว เขาเริ่มต้นฝึกหัด และได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความพิเศษของเครื่องมือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ทำให้เขาสามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันนานาชาติ โดยชนะแชมป์เทเบิลเทนนิสของอังกฤษ และตามตำนานก็กล่าวว่าเขาชนะถึง 50 ต่อ 3 เกม


จากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครคิดถึงปิงปองอีก Alicetocrant และประชาชนได้นำมาเล่นใหม่ด้วยความตื่นตัว และได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ในกีฬาชนิดนี้นักปิงปองที่มีชื่อหลายคนได้รับประโยชน์จากไม้ตีที่ปฏิวัติใหม่ทำให้ควบคุมลูกได้ง่าย และได้นำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้จนทำให้ปิงปองเป็นเกมรวม แล้วมีลักษณะแตกต่างกันมาก


อย่างไรก็ตาม ราวปี พ.ศ. 2447 เทเบิลเทนนิสก็กลับซบเซาลงอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2464 สมาคมปิงปองได้ตั้งขึ้นในอังกฤษ และยอมใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าปิงปอง ในปีต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสมาคมเทเบิลเทนนิส ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประเทศที่ส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิสอย่างแท้จริงเพียง 4 ประเทศคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้คิดค้นลูกเซลลูลอยด์ขึ้นมา ประเทศฮังการี คิดค้นการส่งลูกแบบกระดอน ประเทศอังกฤษ ผู้ซึ่งคิดค้นไม้หุ้มยางออกมาใช้ และประเทศเยอรมันนี เป็นที่ส่งเสริมจนเป็นที่ยอมรับในแง่ของการจัดการแข่งขัน และใช้วางกฎกติกาเล่นต่างๆ


Iver Monthagor บุตรชายของคุณหญิง Sweyling ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้เกิดความสนใจเทเบิลเทนนิส โดยมีเพื่อนๆ นิสิตสนใจเข้าร่วมแข่งขันกัน ในไม่ช้าการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งแรก ระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็เริ่มมีขึ้น และเป็นความคิดริเริ่มของ Iver Monthagor ในการนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สเวย์ลิ่ง คัพ" โดยตั้งตามชื่อของมารดา (คล้ายกับที่ลอนเทนนิสมี "โธมัสคัพ") ซึ่งได้กลายเป็นรางวัลนานาชาติที่นักปิงปองใฝ่ฝันที่สุด


ไม่เป็นที่แปลกประหลาดอะไรเลยในเมื่อปิงปองได้รวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองจึงเป็นกีฬาที่ให้ทั้งความคล่องแคล้วว่องไวในการเล่น การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดี มีความฉับไวในการรุก และความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด ทำให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวและนิยมเล่นปิงปองอย่างกว้างขวางทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปิงปองได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรป


ปี พ.ศ. 2469 ได้มีการประชุมผู้แทนประเทศต่างๆ ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ หอสมุด Lady Sir Vateting ซึ่งเป็นชื่อมารดาของ Sir Mongtakurr ที่ประชุมได้มีมติผ่านกฎบัตรให้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในระยะแรกการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งโลกจัดให้มีการแข่งขันปีละครั้ง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง กีฬาเทเบิลเทนนิสได้แพร่หลายทั่วไป จึงได้มีการจัดตั้งเป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นโดยให้จัดประชุมสัมมนาขึ้นที่กรุงบอร์น ประเทศเยอรมันตะวันตก ในปี พ.ศ. 2469 ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติขึ้น และได้จดทะเบียนตามกฎหมายเลขที่ 1907


ในการประชุมครั้งนั้นที่ประชุมลงมติให้แต่งตั้ง Sir Mongtakurr เป็นประธานสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติคนแรก ซึ่งในขณะนั้นสหพันธ์ฯ มีสมาชิกกว่า 100 ประเทศ โดยดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ถึง 9 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469-2503 Sir Mongtakurr เกิดที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2448 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ก็ได้ปลดเกษียณจากประธานสหพันธ์ฯ แต่ยังดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกร้อยกว่าประเทศจาก 5 ทวีป เทเบิลเทนนิสจึงกลายเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงค่อนข้างจะโด่งดัง ทำให้ผู้คนทั้งหลายเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น


ในศตวรรษที่ 20 ได้มีนักศึกษาและนักท่องเที่ยวนำเอากีฬาประเภทนี้เข้าสู่ประเทศออสเตรีย ฮังการี และสหรัฐเมริกา


ปี พ.ศ. 2438 ศาสตราจารย์ครุศาสตร์ท่านหนึ่งแห่งโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ได้นำเอาโต๊ะและไม้เทเบิลเทนนิสกลับประเทศญี่ปุ่น ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มแพร่หลายในญี่ปุ่น และได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2462


สมาคมเทเบิลเทนนิสในสหรัฐเมริกา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536


สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500


การเล่นเทเบิลเทนนิสในระยะแรก พวกที่เล่นเก่งๆ มักจะใช้นิ้วเล่นลูกประกอบการตีคือ ยอมให้ผู้ส่งลูกปั่นลูกกับไม้ได้ในตอนส่งโดยใช้นิ้วช่วย การส่งลูกแบบนี้จะทำให้ลูกหมุนมากจนแทบจะรับไม่ได้ ต่อมาจึงได้มีกติกาห้ามการส่งแบบนี้


ในชั้นแรกเกมการเล่นประกอบด้วยการเล่น 2 แบบคือ การตั้งรับ และการตีลูกโต้ ต่อมามีการตีลูกแบบตัด ดังนั้นเทคนิคคือการตั้งรับและการตีลูกตัด ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป


ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ไม้ตีได้มีการทำเป็นยางจุด และทำให้ตีโต้ได้รวดเร็วขึ้น ต่อมาสมัยของ Victor Barnar (แชมป์โลกปี พ.ศ. 2473, 2475, 2476 และ 2477) รูปแบบการเล่นเทนนิสได้ถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์ มีการตอบโต้โดยใช้ลูกหน้ามือและหลังมือด้วยวิธีการจับไม้แบบจับมือ (Shake-Hand grip) ซึ่งเป็นจุดเด่นมาก และมีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากการจับไม้แบบจับปากกา (Penholder grip)


ในปี พ.ศ. 2465 คำว่า "ปิงปอง" ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นเครื่องหมายการค้า ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นข้อหนึ่งทำให้มีการเปลี่ยนชื่อกีฬาประเภทนี้มาเป็นเทเบิลเทนนิส


ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471-2492 เป็นช่วงที่ยุโรปเป็นผู้นำทางด้านเทเบิลเทนนิส โดยได้ตำแหน่งชนะเลิศเกือบทุกประเภททั้งชายและหญิง


ในปี พ.ศ. 2483-2490 ได้เกิดสงครามฟาสต์ซิสทำให้การแข่งขันระดับโลกได้หยุดชะงักไประยะหนึ่ง


ญี่ปุ่นได้ร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2472 อังกฤษไม่ได้รับตำแหน่งดั้งเดิมในประเภทนี้เหมือนเมื่อก่อน ประเทศอื่นๆ ได้พัฒนาขึ้นมา และก้าวหน้าไป โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และเชโกสโลวะเกีย แต่ที่สำคัญคือ ฮังการี ซึ่งได้เป็นแชมเปี้ยนโลกหลายสมัย ชาวฮังการีศึกษาและเล่นเกมนี้อย่างจริงจังในเวลาว่าง และได้พัฒนาการเล่นแบบต่างๆ เช่น การรับลูกได้อย่างแน่นอน บางครั้งสามารถรับลูกหลังโต๊ะถึง 25 ฟุต ซึ่งทำให้ชาวฮังกาเรียนเป็นแชมเปี้ยนโลกได้ส่วนใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2480 ชาวอเมริกันจึงได้ชัยชนะทั้งประเภทชายและหญิงในการเดินทางไปแข่งขันที่ประเทศฮังการี ความก้าวหน้าครั้งนี้เป็นเพราะได้รับทักษะจากแชมเปี้ยนส์ชาวฮังกาเรียน ซึ่งเคยแข่งขันท่ามกลางผู้ชมไม่ต่ำกว่า 20,000 คนอยู่เสมอ


นอกจากการเล่นประเภทเดี่ยวแล้ว การเล่นประเภทคู่นับได้ว่าเป็นการเล่นที่สนุกสนานที่สุด ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนกันตีและการเล่นจะเป็นไปอย่างรวดเร็วตลอดการแข่งขัน


ในปี พ.ศ. 2478 ภายหลังที่สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งมา 2 ปี ได้มีการแข่งขันระดับโลกระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรเลีย ปรากฏว่าต้องใช้เวลานานถึง 20 นาที สำหรับคะแนนเพียงคะแนนเดียว และลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีกลับไปกลับมาถึง 1,590 ครั้ง


ปี พ.ศ. 2493-2502 เป็นยุคของญี่ปุ่น โดยสร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกในโลกด้วยการตีลูกหน้ามือเป็นเกมรุก โดยการใช้ฟุตเวิร์ก ในปี พ.ศ.2495 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 19 ที่บอมเบย์ และในปี พ.ศ. 2496 จีนได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงชนะเลิศโลกครั้งที่ 20 ที่เมืองบุชเชอเรสต์ ญี่ปุ่นก็ได้ชัยชนะประเภททีมชายและหญิง ชั้นเชิงการตีลูกของชาวซามูไรทำให้วงการเทเบิลเทนนิสตื่นตัว เพราะญี่ปุ่นใช้วิธีการจับไม้แบบถือพู่กัน หรือ เรียกกันในภายหลังว่า แบบตะวันออก ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตบลูกที่รุนแรง นักตีชาวยุโรปที่จับไม้แบบเชคแฮนด์จึงพ่ายแพ้อย่างราบคาบ


ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกปี พ.ศ.2499 ทีมอังกฤษได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งทำให้การเล่นล่าช้าไปครึ่งชั่วโมง โดยร้องเรียนว่าลูกที่ใช้ในการแข่งขันอ่อนไป และยังไม่กลมด้วย เขาเลือกลูกอยู่ 192 ใบจึงได้ลูกที่ถูกใจ และต่อมาก็พ่ายแพ้ในการแข่งขัน


เทคนิคการเล่นของยุโรปในการรุกจะใช้ไหล่ ศอก และเอว ในขณะที่ผู้เล่นญี่ปุ่นใช้ทั้งลำตัวในการตี และใช้เทคนิคแบบโต้กลับปะทะการรุก จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นเหนือกว่าชาวยุโรป การรุกแบบผู้เล่นญี่ปุ่นนั้นทำให้ชาวยุโรปกลัว เพราะคล้ายกับการโจมตีแบบกามิกาเซ่ (Kamikaze) การรุกแบบกล้าหาญนี้ ชาวญี่ปุ่นถือว่ากล้าได้กล้าเสีย และเสี่ยง แต่ผู้เล่นญี่ปุ่นก็พยายามรุกและมีฟุตเวิร์กที่คล่องแคล่วอันทำให้สัมฤทธิ์ผลจนได้รับชัยชนะในการแข่งขันประเภททีมถึง 5 ครั้งติดต่อกัน อันเป็นสถิติที่ดีเยี่ยมเท่าที่เคยมีมา โดยมี Ogimara เป็นตัวเล่น ซึ่งเขาชนะถึง 12 ครั้ง รวมถึง Tanaka, Tomida, Murakami, Kimura และทำให้ญี่ปุ่นเป็นแชมเปี้ยนโลกในช่วงเวลานั้น (พ.ศ. 2493) ชาวยุโรปแข่งขันกับญี่ปุนโดยใช้วิธีจับไม้แบบจับมือ (Shake-hand grip) และส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายรับ อีกประการหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นครองความเป็นจ้าวปิงปองคือ ญี่ปุ่นได้ใช้วิธีตีลูกแบบ Top-spin ชาวยุโรปซึ่งเป็นฝ่ายรับจึงปราชัยอย่างราบคาบ


ปี พ.ศ. 2503 การเล่นของชาวยุโรปก็ยังเป็นแบบเดิม ทำให้เทเบิลเทนนิสของชาวยุโรปตกต่ำลงไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2503 ในปีนี้มีการแข่งขันชิงชนะเลิศที่ญี่ปุ่น ประเทศยูโกสลาเวียและฮังการีก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยแต่ก็แพ้ญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นใช้วิธีตีลูก Top spin และในระยะต่อมาฮังการีก็ได้คิดค้นวิธีตีลูก Back spin ขึ้น จึงทำให้การเล่นเทเบิลเทนนิสพัฒนาขึ้นอย่างมาก สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นจ้าวปิงปอง เพราะ


1. ญี่ปุ่นได้ค้นพบของใหม่ โดยดัดแปลงการตีที่ใช้ฟองน้ำเข้าช่วยและใช้ลูก Top spin
2. ใช้เทคนิคการบุกแบบตบลูกยาว
3. นักกีฬาของชาวญี่ปุ่นมีความมานะอดทนในการฝึกซ้อม


ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนได้ตำแหน่งชนะเลิศ โดยจีนใช้วิธีบุกเร็วและการยืนตำแหน่งชิดโต๊ะแต่ในระยะหลังนี้ชาวยุโรปได้ฟื้นตัวขึ้นมา เพราะในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกที่เปียงยาง ครั้งที่ 35 พ.ศ. 2522 ฮังการีได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย หลังจากได้เสียตำแหน่งไป 20 กว่าปี


จีนชนะปี พ.ศ. 2503 และใน ปี พ.ศ. 2504 การแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกได้เปลี่ยนแปลงจากปีละ 1 ครั้ง มาเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง พ.ศ. 2505 มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นที่กรุงปักกิ่ง นักตีรุ่นหนุ่มของจีนชนะทีมญี่ปุ่นด้วยการรุกแบบสายฟ้าแลบ และรับอย่างฉับไว โดยการจับไม้แบบไม้จีน (Chinese Penholder grip) จีนชนะเลิศประเภททีมชายและชายเดี่ยว 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งจีนได้เรียนรู้จากญี่ปุ่นทั้งทางภาพยนตร์และจากเอกสาร จึงได้แก้ทางเล่นโดยใช้วิธีเล่นทั้งลูกสั้นและลูกยาวแบบญี่ปุ่นอันเป็นหลักของจีนมาถึงปัจจุบัน เป็นวิธีที่รู้จักกันว่าเป็นการเล่นเทเบิลเทนนิสแบบจีน ซึ่งไม่มีใครเหมือน


ต่อมาในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก ครั้งที่ 27, 28 พ.ศ. 2506, 2508 จีนก็ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย-หญิง ชายเดี่ยว และหญิงเดี่ยวในการแข่งขันครั้งที่ 29 และ 30 จีนยักษ์ใหญ่ในวงการเทเบิลเทนนิสก็ไม่ได้เข้าชิงชัย เนื่องจากเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีน จึงทำให้นักตีชาวยุโรปคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะครั้งที่ 30 ซึ่งเยอรมันตะวันตกเป็นเจ้าภาพ รัสเซียได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมหญิง และสวีเดนชนะเลิศประเภทชายคู่ ส่วนญี่ปุ่นได้ตำแหน่งทีมชาย ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว และคู่ผสม รวม 4 ตำแหน่ง


ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 31 ที่เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2514 จีนได้กลับเข้ามาแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง และได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม และประเภททีมชาย ส่วนตำแหน่งชายเดี่ยว ได้แก่ Stellan ;Bengtsson จากสวีเดน ชายคู่ ได้แก่ ฮังการี ประเภททีมหญิง ได้แก่ ญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยประเภททีมชายได้อันดับที่ 23 จากประเทศเข้าแข่งขัน 39 ประเทศ ทีมหญิงได้อันดับที่ 22 จาก 27 ประเทศที่ส่งเข้าแข่งขัน


การแข่งขันครั้งที่ 31 ที่นาโกย่า นับเป็นการแข่งขันที่มีคนกล่าวขวัญกันมากเป็นประวัติการณ์ เพราะการแข่งขันครังนี้นับว่าเป็นสื่อให้ยักษ์ใหญ่ 2 ฝ่ายในโลกหันหน้าเข้าหากัน เพราะหลังจากการแข่งขันครั้งนี้แล้ว จีนได้เชิญนักปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนปักกิ่ง รวมทั้งทีมจากแคนาดา โคลัมเบีย และไนจีเรีย สหรัฐอเมริกาตกลงรับคำเชิญของจีนทันที ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงได้มีโอกาสเข้าสู่จีนหลังจากจีนได้ปิดประเทศมาถึง 22 ปีเต็ม

ต้นไม้ไทย


ต้นไม้ไทย


นไม้ไทย
ต้
ต้นไม้ไทย เป็นต้นไม้ พันธุ์ดีที่สุดในโลกงอกงามในพื้นดินที่ดีที่สุดในโลกคือ กลางลุ่มน้ำโขง มูล ชี บางปะกง ตาปี แม่กลอง และ เจ้าพระยานานกว่า เจ็ดพันปีตามหลักของการเกิดของเผ่าพันธุ์และอารยธรรมอันมาจากลุ่มน้ำเป็น หลัก แตกหน่อมาจากพันธุ์มงโกล ซึ่งเป็นพันธุ์แรกของโลก ออกนามตนเองว่า ไท้ หรือ ไต๋ หมาย ถึง ไว้ตัว หรือ สงบ จึงต่างคนต่างอยู่ ไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เหมือนต้นไม้ที่งอกงามตามธรรมชาติ ต่อมาได้มีพวกฮั่น ม่าน รวมพวก พวกนี้ก็รวมกันมั่งลงกระถาง เรียกว่า บ้านเชียง และ จนกระทั่งน้ำป่าของขอม(ฝรั่งชาติอารยัน) เข้ามายีดครอง เมื่อนั้น จึงได้รวมตัวกันมีกระถางรองรับ สามกระถาง คือ สุขอุทัย(สุโขทัย) ล้านนา และล้านช้าง

ส่วนต้นที่อยู่ในกระถางสุโขทัย ได้เปลี่ยนกระถางเป็น อโยธยา(มาจาก อะจะยะคามี โยอัคระ ธหะฤาษี ยาคะมุณี) แปลว่า ไม่มีสงคราม ต่อมาเปลี่ยนเป็น กระถางศรีสมุทร (ธนบุรี)

แต่เป็นกระถาง ชั่วคราว จึงเปลียนเป็น กระถาง รัตนโกสินทร์ แต่ได้อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า สยาม แปลว่า อาณาจักรพระพรหม เพื่อให้มีพันธุ์ไม้อื่น ๆ ได้ อยู่ร่วมบริเวณ อย่างมีความสุข และกลมกลืน แต่อยู่มาได้เพียง 150 ปี บุคคลกลุ่มที่มาจากแดน อารยะ ตะวันตก ได้มาเปลี่ยนสถานะภาพและยัดเยียดพันธ์ไม้ทั้งหมดลงในกระถาง ต้นไม้ไทย กระถางเดียว เป็นเหตุให้ต้นไม้นี้ไม่งอกงาม แถมแคระแกร็น ทั้งให้เปลี่ยนเรียกชื่อ บริเวณสยามเป็น บริเวณไทย เรียกเป็นสากลว่า ไทยแลนด์ บริเวณนี้ก็เลยเต็มไปด้วยสัตว์สกปรกที่คนปักษ์ใต้ และ คนอีสาน เรียกว่า แลน เข้ามาทำให้บริเวณนี้สกปรก ตลอดมา

ถ้าต้องการจะเรียกว่า ไทย (แทนที่จะเป็นสยาม) ก็โปรดตัด แลน ออกเสียเถิด

ให้เหมือนกับนานาประเทศ เช่น ไชน่า แจแพน เยอรมัน ฯลฯ เพื่อเป็นมงคลนาม หรือ เรียก สยาม ตามเดิม ให้สมกับพระปฐมบรมราชโองการของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า “เราจะ ปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาว สยาม” และอย่าลืมว่าตั้งแต่ เราเรียกตนเองว่า สยาม เราไม่เคยแพ้ใคร เรารักษาเอกราชได้อย่างน่าอัศจรรย์ด้วยพระบารมีของพระปิยะมหาราชเจ้าผู้เป็น จ้าว แห่งสยาม ประเทศ

ปกิณกะแห่งประวัติ ศาสตร์ คือ สมัยรัชกาลที่ 1 แห่ง ราชวงศ์จักรี ได้มีโองการให้เชลยเมืองนครศรีธรรมราช และ เชลยปัตตานี(เมืองปัตตานีเป็นเมืองออกของเมืองนครฯ ๆ ตกเป็นเมืองออกของ กรุงเทพฯ มาเป็นประเทศเดียวกันสมัย ร 5) นำโดยพระยาตรัง(คนกรุงเก่าซึ่งเป็นข้าเก่าของ ร 1)มาสร้างเมืองจันทบูรณ์ ซึ่งเป็นเมืองร้างเพราะคนไทยไปร่วมกับพระเจ้าตากกู้ชาติ คงเหลือแต่พวกฌ็อง และ ญวน เหลืออยู่ พระองค์เกรงว่าญวนจะเข้ามายึดครองได้ พระยาตรังได้นำเชลยดังกล่าว พร้อมได้นำพืชพันธุ์ เช่น เงาะ ทุเรียน ลางสาด มังคุด สะตอ สะตือ และหยานัส(ภาษายาวี) มาปลูกด้วย ได้มาเรือแพขึ้นที่ท่าแขมหนู (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอท่าใหม่) เข้ามาในเมืองจันทบูรณ์ ทางเดินดังกล่าว ปัจจุบันจากท่าใหม่ – เมืองจันท์ เป็นถนนลาดยางชื่อว่า ถนนพระยาตรัง

ดัง นั้น วัฒนธรรม ในการพูด และความหมาย จึงยังคงมีแนวของเมืองนครอยู่ ริมทะเลในเขตแหลมสิงห์ ยังคงวัฒนธรรมของปัตตานีอยู่ด้วย

มี คำอยู่คำหนึ่งที่ให้ความหมายดี คือ เหี้ย ซึ่งเป็นเพี้ยนมา จากภาษาแต้จิ๋วคำว่า เฮีย คนจีนเข้ามาอยู่เมืองนครฯ(ตามพรลิงค์) นานนับพันปีแล้ว อันเป็นคำเรียกว่า พี่ หลายท้องที่ ยังเรียกกันว่า เหี้ยศักดิ์ เหี้ยจ้วน เหี้ยสนธยา แต่คนใต้จะโกรธถ้าด่าว่า ไอ้แลน ไอ้กวด คนเมืองจันท์ จะเรียกว่า เหีย เอาไม้โทออก แปลว่าพี่เช่นกัน คนอีสานเรียกเรียกสัตว์นี้ว่า แลน เหมือนทางใต้ ไม่เจ็บแสบถ้าเรียก เหี้ย แต่คนกรุงเทพฯ ก็เรียกเฮีย แต่เน้นความหมายให้เสียงสูง เพื่อให้เป็นคำด่า เพราะคนไทยยุคพระเจ้าตากเกลียดคนจีนที่เป็นอั้งยี่สังกัดพระยาราชาเศรษฐี และพระยาโชดึกราชเศรษฐีอย่างรุนแรง เหมือนคนกรุงเทพฯ เรียก หรือด่าคนอีสานในคำที่ดีจนเป็นคำที่เสีย คือ คำว่า เสี่ยว นั่นเอง

คำ ว่า แลน น่าจะมาจากภาษายาวี ที่ว่า ลัน หรือ หลัน หรือ แหล๋น แปลว่า ขโมย

คำ ว่า WARRANUS วอ ระนุส ที่ปัจจุบันแปลว่า เหี้ย นั้น ความจริงเป็นภาษาลาติน แปลว่า สัตว์เลื้อยคลาน สกุลไดโสเสาร์กินสัตว์ตายเป็นอาหาร มีลายเหลือง แดง ต่างหาก

ต้นไม้ไทย กำลังจะสูญพันธ์ แท้ เพราะคนในชาติเอาพันธุ์อื่นมาต่อตา ทาบกิ่ง ทาบยอด เพาะชำ และเป็นกาฝากเต็มไปหมด กล่าวคือ วัฒนธรรมจากนานาชาติเข้ามาครอบงำประเทศจนไม่มีเอกลักษณ์ของไทยเลย เราชื่นชมกับของนอกมากเป็นพิเศษ จนลืมความเป็นไทยไปหมดทั้ง ๆ ที่ความเป็นไทยเท่านั้นที่เหมาะกับประเทศไทย เราเสียวัฒนธรรมไทยไปหมดทุกด้าน ทั้งภาษา การกิน การอยู่ การแต่งตัว ความเชื่อ แนวความคิด แม้กระทั่งการสืบพันธุ์ ตัวการในการทำลายประเทศไทย คือคนไทยนี่เอง นักเรียนนอก คนที่ใช้ชีวิตเมืองนอก นำความเป็นของนอกไปเผยแพร่ ด้วยความผยองว่า สูงส่ง คนไทยในประเทศก็ซึมซับทันที เพราะเชื่อความเป็นคนไทยด้วยกัน ทั้งความเชื่อดั้งเดิมที่ยึดเป็นประเพณีที่ว่า คนเรียนสูง ๆ ต้องเป็น จ้าวคนนายคน ซึ่งเป็นความเชื่อเพียง ด้านเดียว ขาดการประยุกต์ที่เหมาะสม หน้าที่หลักและหนักของนักการเมือง นอกจากจะทำงานการเมืองด้วยจิตวิญญาณที่มุ่งมั่นต่อส่วนรวมแล้ว ต้องจำแนก แยกแยะ และกำหนดแนวทางที่เหมาะสมกับบ้านเมือง ไม่ใช่นำเครื่องทรงของแขก จีน ญี่ปุ่น ฝรั่ง เกาหลี ญวน เข้ามาสุม ๆ ในเรือนร่างไทย จนดูเป็นคนวิกลวิกาล จนจำตนเองไม่ได้

การ พัฒนาประเทศ ไม่ใช่ไปเอาแต่ของนอกมาเป็นฐาน ไม่ใช่ทำเพื่ออวดให้เมืองนอกเห็นว่าเราเหมือนเขา เราต้องเริ่มต้นจากความเป็นจริงของเราเอง โดยยึดแนวทางของเราที่เราเดินมา เอาตัวรอดมานับเกือบพันปี ถ้ายึดมั่นชัดเจนแบบไทย ๆ แทนที่เราจะไปนึกอายคนอื่น คนอื่นต่างหากจะเอาเราเป็นแบบอ ย่าง เพราะการอยู่รอด มีชาตินิยม มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมจะทรงพลังที่ใคร ๆ ก็คิดนิยม

โปรด ระลึกเสมอว่า นโยบาย “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระเจ้าอยู่หัวคือ จิตวิญญาณ ที่แท้จริงของไทย ที่เราเอาตัวรอด และสร้างชาติมาได้นานเกือบพันปีแล้ว และโปรดยึดเป็น”กฎ” ได้ว่า ชาติใดที่ผลิตอาหาร ยา และเส้นใย ได้ ย่อมจะเป็นผู้ที่อยู่รอดและชนะชาติอื่นได้เสมอไป

จงภูมิใจอย่าง ยิ่งใหญ่ที่เรามีประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก มีพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นมหาราชของมหาราชของโลก มีศาสนาที่ไม่มีศาสนาใดสมบูรณ์เทียบเท่าได้และมีจิตวิญญาณแบบไทยในจารีต ประเพณีที่ร้อยรัดคนในชาติไว้ได้อย่างแนบสนิทกลมกลืนชนิดเป็นเนื้อเดียวกัน

การไปดูงาน หามีความจำเป็น ไม่ เพราะถ้าเราร่วมกันในการทำกิจกรรมใด ๆ ด้วยเหตุ ผล ความจำเป็น ความเหมาะสม บนรากฐานแห่งความเป็นจริงเราย่อมจะทำทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิผล ตามฐานานุรูปในทุกกิจกรรมเป็นแน่แท้ แต่ถ้าเรามัวแต่ต้องตามแนวคิดของชาติอื่น ๆ แล้ว ความเป็นไทยของเราจะอยู่ที่ไหน

การไปดูงานเป็นการสิ้นเปลืองเงินทอง เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน เพราะผู้ที่ไปดูงานจะไม่สามารถ นำงานที่ตัวไปดูมาประยุกต์ได้ เพราะความไม่เหมาะสม ความไม่พร้อมในเทคโนโลยี่และผลที่จะพึงได้รับในหลาย ๆ ทาง ทั้งนานเข้า ๆ คนไทยก็คิดอะไร ๆ ไม่เป็น

การไปดูงานที่ผ่านมา เป็นเรื่องกล่าวอ้างกันไป แต่ที่แท้จริงคือการไปเที่ยว แท้จริงคือการทวงถามรางวัลที่ตัวควรจะได้จากรัฐ เท่านั้น หลายประเทศในโลก ไม่มีการส่งคนไปดูงานต่างประเทศเลย เขาก็พัฒนาประเทศของเขาได้อย่างดี

ในอดีต นักการเมืองเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ได้แถลงแบบ ประชดพวกนักการเมืองด้วยกันว่า ให้ไปดูงาน “ขอทาน”จาก อินเดีย และงาน “กะหรี่”จากฮ่องกง (ยุคนั้นแพร่หลายมากเพราะมีสภาพ เป็นเมืองท่าผ่องถ่ายสินค้าของอังกฤษจึงมากด้วยหญิงบริการนานาชาติทีเดียว)

หมาย เหตุ เพื่อนที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาไปดูงานที่สหรัฐฯ ได้ขอให้ทำบันทึกนี้ เพื่อนำไปประกอบการอภิปรายบางเรื่องบางราวในวุฒิสภา

ปลาตะพัด


ปลาตะพัด

ปลาตะพัด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ตะพัด
อะโรวาน่า
?Scleropages formosus (Müller and Schlegel, 1844)

ตะพัดที่พบในเขตแดนประเทศพม่า

ปลาในธรรมชาติที่ถูกตกได้ที่มาเลเซีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[แสดง]

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii

อันดับ Osteoglossiformes
วงศ์ Osteoglossidae

สกุล Scleropages
สปีชีส์ S. formosus
ข้อมูลทั่วไป[แสดง]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scleropages formosus (Müller and Schlegel, 1844)
สถานะการอนุรักษ์
สถานะ : ใกล้สูญพันธุ์
ถิ่นอาศัย[แสดง]


แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาตะพัด (จุดสีแดง)ชื่อพ้อง[แสดง]
Osteoglossum formosus

รูปปลาตะพัดในแสตมป์ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า อะโรวาน่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีการสืบสายพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Arowana (อะโรวาน่า) หรือ Arawana (อะราวาน่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scleropages formosus อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไปได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาตู้ ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง

สำหรับชื่อ "ตะพัด" เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรีและตราด ในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หางเข้" ถูกค้นพบเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2474 ตามรายงานของสมิธที่ลำน้ำเขาสมิง จังหวัดตราด โดยระบุว่าในขณะนั้น ปลาตะพัดเป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในแม่น้ำลำคลองในภาคตะวันออก ไข่มีลักษณะสีส้มลูกกลมใหญ่ ฟักไข่ในปาก เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมใช้ทำเป็นอาหาร

ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำตาปี และบริเวณแม่น้ำ ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น ส่วนทางภาคตะวันออกที่เคยชุกชุมในอดีต ไม่มีรายงานการพบอีกเลย อีกที่หนึ่งที่ได้เคยได้ชื่อว่ามีปลาตะพัดชุกชุมคือ บึงน้ำใส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในอดีตเป็นแหล่งจับปลาตะพัดที่มีชื่อเสียงมาก จนมีชื่อปรากฏในคำขวัญประจำอำเภอ โดยชาวบ้านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กรือซอ" แต่จากการจับอย่างมากในอดีต ทำให้ในปัจจุบัน ปริมาณปลาตะพัดลดน้อยลงจนแทบจะสูญพันธุ์


เนื้อหา [ซ่อน]
1 ลักษณะ
2 ที่อยู่
3 การเลี้ยง
4 สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง
5 ชื่อเรียกในภาษาต่าง ๆ
6 อ้างอิง
7 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ลักษณะ
ลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงินอมเขียวหรือฟ้าเรียงเป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ปลาตะพัดขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร หนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ อาหารของปลาตะพัด ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร


[แก้] ที่อยู่
อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีสภาพใสสะอาด มีนิสัยค่อนข้างดุ ก้าวร้าว ขี้ตกใจ มักอาศัยอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ ถ้าอยู่เป็นฝูง ก็จะอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 3-5 ตัว พบได้ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปลาในแต่ละแหล่งน้ำจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายกันออกไป (Variety) เชื่อว่าเกิดเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่อยู่ เช่น สีทอง สีแดง สีเงิน สีทองอ่อน เป็นต้น

นอกจากนี้ ตะพัด ยังมีสายพันธุ์ที่มีความใกล้เคียงกันในทางวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก ด้วย เช่น อเมริกาใต้ แอฟริกา และออสเตรเลียทางตอนเหนือ

[แก้] การเลี้ยง
ปลาตะพัด หรือ ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม มีเกล็ดขนาดใหญ่ และมีสีสันแวววาวมีหนวดซึ่งมีลักษณะคล้าย "มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาอะโรวาน่า โดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด


บลัด เรด
ทองอินโดนีเซีย
ทองหางเหลือง
บลูเบส
ไฮแบ็ค[แก้] สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง
อะโรวาน่าเขียว (Green Arowana คือปลาตะพัดนี่เอง)

อะโรวาน่าแดงอินโดนีเซีย (Super Red) เป็นปลาที่มีสีแดงสดทั้งตัว ทั้งครีบและหาง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ในแถบทะเลสาบขนาดเล็กในป่าบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบเซนทารัม ซึ่งอยู่ทางตอนบนซึ่งต่อเชื่อมกับแม่น้ำคาปัวส์ ทางบอร์เนียวตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดค่อนข้างต่ำ (pH น้อยกว่า 5.5) จัดเป็นสายพันธุ์ที่มีราคาสูงรองลงมาจากอะโรวาน่าทองมาเลย์

ในตัวที่มีสีแดงตัดขอบเกล็ดคมชัดเจน เรียกว่า ชิลลี่ เรด (Chili Red) ตัวที่มีสีแดงทั้งตัว เรียกว่า บลัด เรด (Blood Red) หรือในบางตัวมีเหลือบสีม่วงในเกล็ด เรียกว่า ไวโอเล็ท ฟิวชั่น (Violet Fusion) ทั้งนี้สีปลาอ่อนหรือเข้มขึ้นอยู่กับตัวปลาเองและผู้เลี้ยง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน โดยพบในประเทศอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน แต่พบคนละแหล่งน้ำ คือ เรด บี (Red B) หรือ บันจา เรด (Banja Red) (แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกเรียกว่า เรด อะโรวาน่า ((Red Arowana)) ซึ่งเมื่อยังเล็กจะมีสีแดงสดเหมือนปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียทั่วไป แต่เมื่อโตขึ้นสีจะซีดลง จนเกล็ดมีเพียงสีเงินเหลือบเหลืองอ่อน ๆ สีครีบและหางเป็นสีเหลืองปนส้มเท่านั้น แลดูคล้ายปลาทองอ่อน และเป็นปลาที่มีราคาต่ำกว่า

ปัจจุบัน ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับอะโรวาน่าทองมาเลย์ เป็นปลาลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ทั้ง 2 ที่มีสีทองแดง เรียกว่า เรด สเปลนเดอร์ (Red Splendor)

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหาก โดยเรียกว่า Scleropages legendrei แต่ชื่อนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นสากลเท่าที่ควร

อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย (Red Tail Golden Arowana) เป็นปลาที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมาก หากเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่พบในเอเชียด้วยกัน อีกทั้งมีความสวยงามมีสีทองเข้ม ครีบอก กระโดงต่าง ๆ และหาง มีสีแดงสด ด้วยเหตุนี้ จึงมีชื่อเรียก ว่า Red Tail Golden (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า RTG) ครีบหลังและหางส่วนบนจะมีสีแดงคล้ำปนดำ บนหลังจะมีเกล็ดสีดำ เกล็ดสีทองจะมีขึ้นมาถึงเกล็ดแถวที่ 4 และอาจจะมีขึ้นประปรายบ้างบนแถวที่ 5 เรียกว่า ไฮแบ็ค (Hight Back) ปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับอะโรวาน่าทองมาเลย์จนได้สายพันธุ์ปลาพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า ไฮแบ็ค มากขึ้น โดยเกล็ดเงางามขึ้น และเกล็ดเปิดถึงแถวที่ 5 ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้แล้วยังมีสายพันธุ์ที่สีอ่อนกว่า เมื่อเล็กมีลักษณะคล้ายปลาตะพัดหรืออะโรวาน่าเขียวมาก โตขึ้นครีบมีสีใสและเกล็ดเป็นสีเงินปนเหลืองอ่อน ๆ เรียกว่า "ทองอ่อน" และตัวใดที่ครีบมีสีเหลืองเข้มขึ้นมาหน่อย ก็จะถูกเรียกว่า "ทองหางเหลือง" (Yellow Tail) เป็นต้น

เป็นปลาที่พบในประเทศอินโดนีเชีย บริเวณบอร์เนียวเหนือ และเกาะสุมาตรา และส่วนของทางหางเหลืองก็อยู่ในแหล่งน้ำที่ต่างจากทองอินโดนีเซีย

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโรวาน่าทองอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหากว่า Scleropages aureu และในส่วนของทองหางเหลืองก็ได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แยกออกมาอีกว่า Scleropages macrocephalus ในปี ค.ศ. 2003[1]

อะโรวาน่าทองมาเลย์ (Malayan Bonytongue, Cross Back) ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศมาเลเซีย แถบรัฐปะหัง เประ และมาเลเซียตะวันตก เป็นสายพันธุ์ของอะโรวาน่าที่มีราคาแพงที่สุด โดยอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีทองสดใสที่สุด เกล็ดมีความเงางามมาก เมื่อปลาโตเต็มวัยจะสีทองจะเปิดสูงข้ามบริเวณส่วนหลัง จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Cross Back

อีกทั้งในบางตัวยังมีฐานสีที่บริเวณเกล็ดเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินเรียกว่า บลูเบส (Blue Base) ในบางตัวที่มีฐานเกล็ดเป็นสีเขียวเรียกว่า กรีนเบส (Green Base) ในขณะที่ตัวที่มีสีทองเหลืองอร่ามทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปะปนจะเรียกว่า ฟูลโกลด์ (Full Gold)

อะโรวาน่าทองมาเลย์ เมื่อเทียบกับปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์อื่น ๆ จะพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด อีกทั้งครีบและหางเล็กกว่า แต่มีสีสันที่สวยที่สุด

ไฮแบ็ค (Hight Back) เป็นปลาลูกผสมระหว่างทองอินโดนีเซียกับทองมาเลย์ ทำให้ลูกปลาที่เกิดออกมามีส่วสนเด่นของทั้งสองสายพันธุ์ คือ มีเกล็ดที่แวววาวกว่าทองอินโดทั่วไปและสีทองของเกล็ดจะเปิดถึงแถวที่ 5 มากกว่าทองอินโดปกติ

[แก้] ชื่อเรียกในภาษาต่าง ๆ
ตะพัด (ภาษาภาคตะวันออก)
หางเข้ (ภาษาใต้)
กรือซอ (ภาษายาวี)
เคเลซ่า (ภาษามาเลย์)
โคโลโซ่ (ภาษาอินโดนีเซีย)
อะโรวาน่า (Arowana-ภาษาอังกฤษ-ชื่อที่เรียกทั่วไป)
มังกร (อีกชื่อที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป)
เล้งฮื้อ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว)
[แก้] อ้างอิง
หนังสือคู่มือเลี้ยงปลาอะโรวาน่า โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (พ.ศ. 2540) ISBN 974-86869-5-7
ปลามังกร
^ แนวทางการจำแนกเอเชียอะโรวาน่า (Asian Arowana.)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
รูปและข้อมูลปลาตะพัด
การเพาะพันธุ์ปลาตะพัด
แหล่งรวมคลิปปลาตะพัดจากทั่วโลก 

พุทธประวัติ


พุทธประวัติ


พุทธประวัติ

พุทธประวัติ
1.ประสูติ

- พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

- เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

- ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"



2.วัยเด็ก

- หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา

- ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น ค์อ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร

- พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามให้สิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา

- เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)
3.เสด็จออกผนวช


- เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดแนวความคิดว่า

-ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น , มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

-ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน

-วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้ หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ

- สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)

- หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้

- จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้

- ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)
4.ตรัสรู้(15 ค่ำเดือน 6)

- ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ... “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้

- ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)

- ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก

- ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4

- อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4

- เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


5.ปฐมเทศนา

- หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป

บัว ๔ เหล่า ได้แก่๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู) ๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู) ๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ) ๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)



- จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 เดือน 8 จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)" ซึ่งใจความ 3 ตอน คือ
1.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
2.) ทรงแสดงอริยสัจ 4 โดยละเอียด
3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว

- โกญฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพเป็นจริงว่า
"ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรม สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา จึงได้อุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาองค์แรก

- หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์

วัฒนธรรม


วัฒนธรรม

วัฒนธรรม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม

วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประเภทของวัฒนธรรม
2 แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
2.1 วัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม
2.2 วัฒนธรรมในมุมมองของโลก
2.3 วัฒนธรรมในเชิงสัญลักษณ์
2.4 วัฒนธรรมในเชิงของกลไกสร้างเสถียรภาพ
2.5 วัฒนธรรมและวิวัฒนาการทางจิตวิทยา
3 วัฒนธรรมภายในสังคม
4 วัฒนธรรมโดยภูมิภาค
4.1 แอฟริกา
4.2 อเมริกา
4.3 เอเชีย
4.4 แปซิฟิก
4.5 ยุโรป
4.6 ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
5 ระบบความเชื่อ
5.1 กลุ่มศาสนาแอบราฮัม (Abrahamic religions)
5.2 ศาสนาตะวันออกและปรัชญา
5.3 ศาสนาพื้นบ้าน
5.4 ความฝันอเมริกัน
5.5 การแต่งงาน
6 วัฒนธรรมศึกษา
7 การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
8 ดูเพิ่ม
9 อ้างอิง
10 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย อันได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี[1]
นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่มักใช้คำ "วัฒนธรรม" ไปในเชิงของวิสัยสามารถของคนทั่วไปในการบ่งชี้ จัดหมวดหมู่และสื่อถึงประสบการณ์ของตนในลักษณะเชิงสัญลักษณ์ คนเราใช้วิสัยสามารถดังกล่าวสำหรับบ่งชี้เรื่องราวและสิ่งต่างๆ ที่เกิดในหมู่มนุษย์ด้วยกันมานานมากแล้ว อย่างไรก็ตาม นักวานรวิทยาหรือไพรเมตวิทยาก็ได้บ่งชี้ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวในวานรหรือไพรเมตซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดมานานแล้วเช่นกัน[2] และโดยนักโบราณคดีจะมุ่งเฉพาะไปที่วัฒนธรรมที่เป็นเรื่องราวเท่านั้น (ซากเรื่องราวที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์) ขณะเดียวกัน นักมานุษยวิทยาสังคมก็มองไปที่ปฏิสัมพันธ์ของสังคม สถานภาพและสถาบัน ส่วนนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมก็เน้นที่บรรทัดฐานและคุณค่า

การแบ่งแยกแนวกันนี้ แสดงให้เห็นถึงเงื่อนไขที่แตกต่างกันที่ขึ้นอยู่กับงานที่ต่างกันของนักมานุษยวิทยา และความจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นจุดการวิจัยที่ต้องชัดเจน จึงไม่จำเป็นว่าจะเป็นการสะท้อนถึงทฤษฎีของวัฒนธรรมซึ่งย่อมแตกต่างไปตามเชิงของเรื่องราว เชิงสังคม และเชิงบรรทัดฐาน (norm) รวมทั้ง ไม่จำเป็นต้องสะท้อนถึงการแข่งขันกันเองในระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ ของวัฒนธรรม

[แก้] แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม

วัฒนธรรม "ฟาร์ฮาง" นับเป็นจุดรวมของอารยธรรมอิหร่าน จิตรกรรมนักดนตรีสตรีชาวเปอร์เซียจาก "พระราชวังสรรค์ 8 ชั้น"
ศิลปะอียิปต์โบราณคำว่า "วัฒนธรรม" ในภาษาไทย มาจากคำสองคำ คำว่า "วัฒน" จากคำศัพท์ วฑฺฒน" ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า "ธรรม" มาจากคำศัพท์ "ธรฺม" ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า "วัฒนธรรม" หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย[3] พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ว่าเป็น "สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ, วิถีชีวิตของหมู่คณะ , ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ. 2485 หมายถึงลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน, ทางวิทยาการ หมายถึงพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่ของตน"[4] แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้นิยามไว้ว่า "สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา" คำว่า "วัฒนธรรม" ในภาษาไทยตามความหมายนี้ใกล้เคียงกับคำว่า "อารยธรรม" (ดู #วัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม)ส่วนคำว่า "culture" ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าวัฒนธรรมนั้น มาจากภาษาละติน คำว่า "cultura" ซึ่งแยกมาจากคำ "colere" ที่แปลว่า การเพาะปลูก[5] ส่วนความหมายทั่วไปในสากล หมายถึงรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ

มีการกล่าวถึงวัฒนธรรมว่าเป็น "หนทางทั้งหมดแห่งการดำเนินชีวิต" ซึ่งรวมถึงกฎกติกาแห่งกิริยามรรยาท การแต่งกาย ศาสนา พิธีกรรม ปทัสถานแห่งพฤติกรรม เช่น กฎหมายและศีลธรรม ระบบของความเชื่อรวมทั้งศิลปะ เช่น ศิลปะการทำอาหาร[6]

การนิยามที่หลากหลายนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของทฤษฎีที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ หรือทำให้เกิดเกณฑ์เพื่อใช้ในการประเมินกิจกรรมของมนุษย์ โดยในปี พ.ศ. 2414 เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนต ไทเลอร์ ได้พรรณนาถึงวัฒนธรรมในมุมมองด้านมานุษยวิทยาสังคม ไว้ว่า "วัฒนธรรม หรือ อารยธรรม หากมองในเชิงชาติพันธุ์วรรณนาอย่างกว้าง ๆ ก็คือ ความทับซ้อนกันระหว่างความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณีและสมรรถนะอื่นที่มนุษย์ต้องการแสวงหาเพื่อการเป็นสมาชิกของสังคม"[7]

เมื่อปี พ.ศ. 2543 ยูเนสโก ได้พรรณนาถึงวัฒนธรรมไว้ว่า "...วัฒนธรรมควรได้รับการยอมรับว่าเป็นชุดที่เด่นชัดของจิตวิญญาณ เรื่องราว สติปัญญาและรูปโฉมทางอารมณ์ของสังคม หรือกลุ่มสังคม ซึ่งได้หลอมรวมเพิ่มเติมจากศิลปะ วรรณคดี การดำเนินชีวิต วิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกัน ระบบคุณค่า ประเพณีและความเชื่อ"[8]

ถึงแม้ว่าการนิยามความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ของทั้งสองจะครอบคลุมแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับคำว่า "วัฒนธรรม" ที่มีการใช้กันอยู่ ในปี พ.ศ. 2495 อัลเฟรด ครูเบอร์ และไคลด์ คลักคอห์น ได้รวบรวมนิยามของคำ "วัฒนธรรม" ได้ถึง 164 ความหมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือเรื่อง "วัฒนธรรม: การทบทวนเชิงวิกฤติว่าด้วยมโนทัศน์และนิยาม" (Culture: A Critical Review of Concepts and Definitions)[9]

นิยามดังกล่าวนี้ และอีกหลายนิยามช่วยทำให้เกิดองค์ประกอบของรายการวัฒนธรรม เช่น กฎหมาย เครื่องมือสมัยหิน การแต่งงาน ฯลฯ แต่ละอย่างนี้มีการเกิดและมีความไปเป็นชุดของมันเอง ซึ่งจะเกิดเป็นช่วงเวลาในชุดหนึ่งที่หลอมประสานกันแล้วก็ผ่านออกไปเป็นชุดอย่างอื่น ในขณะที่ยังเป็นชุด มันก็จะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราสามารถพรรณนาได้ถึงวิวัฒนาการของกฎหมาย เครื่องมือฯ และการแต่งงานดังกล่าวได้

ดังนั้น โดยนิยามแล้ว วัฒนธรรมก็คือชุดของเรื่องราวทางวัฒนธรรม นั่นเอง นักมานุษยวิทยาเลสลี ไวท์ ตั้งคำถามไว้ว่า "เรื่องราวเหล่านั้นคืออะไรกันแน่?" เป็นเรื่องราวทางกายภาพหรือ? หรือเป็นเรื่องราวทางจิตใจ ทั้งสองอย่าง? หรือเป็นอุปลักษณ์? ในหนังสือเรื่อง "วิทยาศาสตร์แห่งวัฒนธรรม" (Science Of Culture 2492) ไวท์สรุปว่ามันคือเรื่องราว "sui generis" นั่นคือ การเป็นชนิดของมันเอง ในการนิยามคำว่า ชนิด ไวท์มุ่งไปที่ "การสร้างสัญลักษณ์ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่มีผู้ใดตระหนักถึงมาก่อน ซึ่งเขาเรียกว่า "ซิมโบเลท" (the symbolate) คือ เรื่องราวที่เกิดจากการกระทำที่สร้างสัญลักษณ์ ดังนั้น ไวท์จึงนิยามว่า "วัฒนธรรม คือ ซิมโบเลทในเชิงของบริบทนอกกาย"[10] คำสำคัญของนิยามนี้จึงได้แก่การค้นพบซิมโบเลทนั่นเอง

ในการใฝ่หานิยามที่ใช้การได้ นักทฤษฎีสังคมชื่อ ปีเตอร์ วอลเตอร์ กล่าวง่าย ๆ ว่า วัฒนธรรมเป็น "การแลกเปลี่ยนเค้าร่างของประสบการณ์"[11] ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะ ภาษาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและอื่น ๆ รวมทั้ง นิยามก่อน ๆ

[แก้] วัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม
ในปัจจุบันคนจำนวนมากมีความคิดทางวัฒนธรรมที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมของยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณระหว่าง พ.ศ. 2244 – พ.ศ. 2373) ซึ่งประมาณได้ว่าตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัฒนธรรมที่พัฒนาในช่วงระหว่างนี้เน้นถึงความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมในยุโรปเองและในระหว่างประเทศมหาอำนาจกับประเทศอาณานิคมทั่วโลกของตน ใช้ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมด้วย "อารยธรรม" แยกความเปรียบต่างของวัฒนธรรมด้วย "ธรรมชาติ" และใช้แนวคิดนี้มาเป็นตัวชี้วัดว่าประเทศหรือชาติใดมีอารยธรรมมากกว่าชาติใด บุคคลใดมีวัฒนธรรมมากน้อยกว่ากัน ดังนั้น จึงมีนักทฤษฎีวัฒนธรรมบางคนพยามยามที่แยกวัฒนธรรมมวลชน หรือวัฒนธรรมนิยมออกจากการนิยามของวัฒนธรรม นักทฤษฎี เช่น แมททิว อาร์โนลด์ (พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2341) มองว่าวัฒนธรรมเป็นเพียง "ความคิดและการพูดที่ดีที่สุดที่ได้เกิดขึ้นมาบนโลก"[12] อาร์โนลด์ได้แยกแยะให้เห็นความแตกต่างของวัฒนธรรมมวลชนกับความวุ่นวายในสังคมและอนาธิปไตย ในแนวนี้วัฒนธรรมจะเชื่อมโยงเป็นอย่างมากกับการงอกงามของวัฒนธรรม นั่นคือ การปรุงแต่งที่ก้าวไปข้างหน้าของพฤติกรรมมนุษย์ อาร์โนลด์เน้นการใช้คำนี้อย่างคงเส้นคงวา ว่า "...วัฒนธรรม คือ การไล่ตามหาความสมบูรณ์สุดยอดด้วยการเรียนรู้ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรา นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้รับการคิดและพูดขึ้นในโลก"[12]


ศิลปะของ "วัฒนธรรมขั้นสูง": ภาพเขียนโดย เอ็ดการ์ เดอกาสในทางปฏิบัติ วัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับกิจกรรมชั้นสูง เช่นพิพิธภัณฑ์ประเทืองปัญญา ศิลปะและดนตรีคลาสสิก และยังเป็นคำที่พรรณนาถึงผู้รู้และการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ นี่คือ กิจกรรมที่เรียกว่า "วัฒนธรรมขั้นสูง" เป็นวัฒนธรรมของสังคมกลุ่มชนชั้นกุมอำนาจ[13] ทั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างกับ "วัฒนธรรมมวลชน" หรือ "วัฒนธรรมประชานิยม"

นับจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา (พ.ศ. 2344) นักวิจารณ์สังคมเริ่มยอมรับถึงความแตกต่างของ "วัฒนธรรมสูงสุด" และ "วัฒนธรรมต่ำสุด" ดังกล่าวมาแล้ว แต่ก็ได้ย้ำให้เห็นถึงการปรุงแต่งและความละเอียดซับซ้อนว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีการพัฒนาที่วิบัติและไม่เป็นธรรมชาติ บดบังและบิดเบือนความเป็นธรรมชาติแท้ของมนุษย์ และในแง่นี้ ดนตรีพื้นบ้าน (ที่แต่งโดยชนชั้นแรงงาน) แสดงออกอย่างเปิดเผยหมดเปลือกถึงวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นจริง และว่าดนตรีคลาสสิกดูเป็นเปลือกผิวเผินและกำลังถดถอยลงในแง่การดำรงชีวิตจริง และก็เช่นเดียวกัน มุมมองนี้ได้พรรณาให้เห็นถึงคนพื้นเมืองในฐานะของ "คนเถื่อนใจธรรม" (Noble savage) ที่ดำรงชีวิตอย่างไร้มลทิน ไม่ประณีตซับซ้อนและไม่วิบัติจากระบบชนชั้นนายทุนของโลกตะวันตก

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สังคมได้ปฏิเสธแนวคิดของ "วัฒนธรรมเชิงเอกภาค" (monadic culture) และสังคมที่ตรงข้ามกับธรรมชาติ พวกเขายอมรับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัฒนธรรมชั้นสูงสุดยอดว่าดีเท่า ๆ กับวัฒนธรรมสุดยอด (รับว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกมีอารยธรรมเท่าเทียมกัน และมองว่าเป็นวัฒนธรรมเหมือนกันแต่เป็นคนละแบบ ดังนั้น นักสังเกตการณ์วัฒนธรรมจึงแยกความแตกต่างของวัฒนธรรมขั้นสูงของคนชั้นสูงกับวัฒนธรรมประชานิยมว่าหมายถึง สินค้าและกิจกรรมที่ผลิตเพื่อวัฒนธรรมและบริโภคโดยมวลชน (เป็นที่น่าสังเกตด้วยเช่นว่าบางคนจำแนกวัฒนธรรมทั้งสูงและต่ำว่าเป็นวัฒนธรรมย่อย (subculture)

[แก้] วัฒนธรรมในมุมมองของโลก
ในยุคโรแมนติก ผู้รอบรู้ในเยอรมัน โดยเฉพาะผู้ห่วงใยใน "ขบวนการรักชาติ" เช่น ขบวนการรักชาติที่พยายามก่อตั้งประเทศเยอรมันจากรัฐต่าง ๆ ที่ต่างก็มีเจ้าครองนครอยู่แล้ว และกลุ่มผู้รักชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่พยายามต่อต้านจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี พวกเหล่านี้มีส่วนช่วยพัฒนาหัวเรื่องวัฒนธรรมมาสู่ "มุมมองของโลก" มากขึ้น ในกรอบแนวคิดลักษณะนี้ มุมมองโลกที่พุ่งไปสู่การจำแนกลักษณะของกลุ่มชาติพันธุ์ มีความชัดเจนขึ้นและไม่ให้ความสำคัญของขนาดกลุ่มชน แม้จะเป็นแนวคิดที่กว้างขึ้นแต่ก็ยังคงเห็นว่ายังการแบ่งความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม "อารยธรรม" และ วัฒนธรรม "ดั้งเดิม" หรือ วัฒนธรรม "ชนเผ่า" อยู่

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2420) นักมานุษยวิทยา ได้ยอมรับและปรับวัฒนธรรม ให้มีนิยามที่กว้างขึ้นให้ประยุกต์ได้กับสังคมต่าง ๆ ที่หลากหลายได้มากขึ้น เอาใจใส่ให้ความสนใจกับทฤษฎีของวิวัฒนาการมากขึ้น มีการอนุมาณว่ามนุษย์ทั้งปวงวิวัฒนาการมาเท่าเทียมกัน และมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมจะต้องเป็นผลมาจากวิวัฒนาการอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการแสดงถึงความลังเลที่จะใช้วิวัฒนาการทางชีววิทยามาใช้อธิบายความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน ซึ่งเป็นแนวที่เป็นการแสดงรูปแบบหรือส่วนหนึ่งของสังคมเปรียบเทียบกับอีกสังคมโดยรวม และแสดงให้เห็นกระบวนการครอบงำ และกระบวนการต่อต้าน

ในช่วง พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2503 ได้เริ่มมีการยกเอา "กลุ่มวัฒนธรรมย่อย" ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะที่อยู่ภายใต้วัฒนธรรมที่ใหญ่กว่ามาเป็นหัวข้อการศึกษาโดยนักสังคมวิทยา ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444 – พ.ศ. 2543) ได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า "วัฒนธรรมบรรษัท" (corporate culture) ที่เด่นชัดเกี่ยวกับบริบทของการจ้างงานในองค์การหรือในที่ทำงานขึ้น

[แก้] วัฒนธรรมในเชิงสัญลักษณ์

ภาพจิตรกรรมดอกไม้ ผีเสื้อและ ประติมากรรมหินโดย เช็น ฮองซู ศิลปินสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 2141 - พ.ศ. 2195)ชาวจีนยกย่องว่าภาพเขียนจีน คือองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมระดับสูงในมุมมองเชิงสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ผลงานของคลิฟฟอร์ด เกียรซ์ (พ.ศ. 2516) และวิกเตอร์ เทอร์เนอร์ (พ.ศ. 2510) ได้หยิบยกสัญลักษณ์ว่าเป็นทั้งการกระทำของ "นักแสดง" ในสังคมและบริบทที่ทำให้การแสดงนั้นมีความหมาย แอนโทนี พี โคเฮน (พ.ศ. 2528) เขียนถึง "เคลือบเงาสัญลักษณ์" (Symbolic gloss) ว่าเป็นตัวช่วยให้ผู้แสดงทางสังคมสามารถใช้สัญลักษณ์ทั่ว ๆ ไปสื่อและทำความเข้าใจระหว่างกันในขณะที่ยังคงรักษาสัญลักษณ์เหล่านั้นให้คงอยู่กับความสำคัญและความหมายส่วนบุคคลไว้ได้[14] สัญลักษณ์ช่วยจำกัดขอบเขตความคิดทางวัฒนธรรม สมาชิกของวัฒนธรรมต้องพึ่งพิงสัญลักษณ์เมื่อจะต้องวางกรอบความคิดและการแสดงออกทางปัญญาของตน

โดยสรุป สัญลักษณ์ทำให้วัฒนธรรมมีความเป็นไปได้ แพร่หลาย และอ่านได้ง่าย สัญลักษณ์เป็น "สายใยแห่งความมีนัย" (webs of significance) " เป็นตัวทำให้ "ความเป็นปกติ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นระบบ" เกิดขึ้นในกลุ่ม ดังตัวอย่างของ วลีที่ใช้มากจนเบื่อหู (Stock phrase หรือ Cliché)[15] ข้างล่างนี้

"หยุดเดี๋ยวนี้ ในนามของกฎหมาย!" - คำพูดที่มาจากบทที่นายอำเภอหรือผู้รักษากฎหมายใช้ในภาพยนตร์คาวบอยอเมริกัน
กฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย – อเมริกัน
สันติภาพและความเป็นระเบียบเรียบร้อย – ฟิลิปปินส์
ประชาชนต้องมาก่อน - ไทย[16]
[แก้] วัฒนธรรมในเชิงของกลไกสร้างเสถียรภาพ
ทฤษฎีวัฒนธรรมใหม่พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ว่าตัววัฒนธรรมเองเป็นผลิตผลของแนวโน้มของเสถียรภาพที่ตกทอดมาจากแรงกดดันของวิวัฒนาการที่มีผลไปถึงความคล้ายของตนเองและยอมรับตนเองในสังคมโดยรวม ที่เรียกว่า "เผ่าชนนิยม" (Tribalism)

[แก้] วัฒนธรรมและวิวัฒนาการทางจิตวิทยา
นักวิจัยด้าน "จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ" โต้เถียงกันว่า จิต คือหน่วยสะสางระบบของการรับรู้ข้อมูลทางประสาทที่เกิดจากการคัดเลือกทางพันธุกรรมเพื่อปรับใช้ในการแก้ปัญหาของบรรพบุรุษนานมาแล้ว นักจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการมีความเห็นว่า ความหลากหลายของรูปแบบที่วัฒนธรรมของมนุษย์รับไว้นั้นถูกกีดขวางไว้ด้วยกลไกของกระบวนการประมวลข้อมูลที่ฝังอยู่ในพฤติกรรมของเรา[17] ซึ่งรวมถึง

หน่วยมาตรฐานแห่งการรับภาษา
กลไกในการหลีกเลี่ยงการสมสู่กับญาติสนิท
กลไกในการตรวจจับกลโกง
ความพึงใจในการเลือกคู่กับความมีเชาว์ปัญญา
กลไกในการเที่ยวค้นหา
กลไกในการหาพวก
กลไกในการตรวจหาตัวแทน
ความกลัวและกลไกในการปกป้อง (กลไกในการเอาชีวิตรอด)
กลไกเหล่านี้ได้รับการวางให้เป็นทฤษฎีเพือใช้เป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาของวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจคำว่าวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง เราจะต้องมีความเข้าใจในเงื่อนไขทางชีววิทยาของความเป็นไปได้เสียก่อน

[แก้] วัฒนธรรมภายในสังคม
สังคมขนาดใหญ่มักมี วัฒนธรรมย่อย หรือกลุ่มของคนที่มีพฤติกรรมและความเชื่อที่แปลกไปจากสังคมใหญ่โดยรวมของตน วัฒนธรรมย่อยอาจเด่นจากอายุของสมาชิกกลุ่มหรือโดยเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชั้นทางสังคมหรือเพศ คุณลักษณะที่เป็นตัวบ่งบอกลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยอาจเป็น สุนทรียภาพ ศาสนา อาชีพ การเมือง เพศ หรือความสำคัญขององค์ประกอบเหล่านี้

แนวทางที่ใช้ปฏิบัติกับกลุ่มต่างด้าวและวัฒนธรรมของพวกเขามี 4 ทาง ได้แก่

เอกวัฒนธรรมนิยม (Monoculturalism) : ในประเทศยุโรปบางประเทศ วัฒนธรรมมีความผูกพันอย่างแนบแน่นกับลัทธิชาตินิยม ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงใช้วิธีดูดกลืนคนต่างด้าว แต่การเพิ่มขึ้นของการย้ายถิ่นฐานในช่วงไม่นานมานี้ ทำให้หลายประเทศเริ่มหันไปใช้แนวทาง "อเนกวัฒนธรรมนิยม" บ้างแล้ว
วัฒนธรรมแกนกลาง (Leitkultur หรือ core culture) : เป็นแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นในประเทศเยอรมันเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยบาสซาม ไทไบ แนวคิดนี้ก็คือชนกลุ่มน้อยสามารถมีเอกลักษณ์ของตนเองได้ แต่อย่างน้อยต้องสนับสนุนแนวคิดที่เป็นแกนกลางของวัฒนธรรมที่กลุ่มตนร่วมเป็นส่วนอยู่
หม้อหลอมละลาย (Melting Pot) : ในสหรัฐฯ มุมมองที่ถือปฏิบัติกันได้แก่การเป็นหม้อหลอมละลาย เป็นที่ซึ่งวัฒนธรรมของต่างด้าวที่ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่หลอมรวมและผสมผสานกันโดยรัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย
อเนกวัฒนธรรมนิยม (Multiculturalism) : ได้แก่นโยบายที่คนต่างด้าวที่ย้ายถิ่นเข้ามาใหม่ พึงสงวนรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้ร่วมกันวัฒนธรรมอื่นและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสันติ
วิธีการที่รัฐดำเนินการกับวัฒนธรรมของกลุ่มต่างด้าวผู้ย้ายถิ่นมักไม่ตกอยู่ในแนวทางปฏิบัติอันใดอันหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ระดับความแตกต่างของวัฒนธรรมย่อยกับวัฒนธรรมเจ้าถิ่น จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้า ทัศนคติของประชากรที่มีอยู่เดิม ประเภทของนโยบายของรัฐที่ใช้และผลสัมฤทธิ์ของนโยบายเหล่านี้ ประกอบกันทำให้ยากที่จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นแบบทั่วไปได้ เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมย่อยอื่น ๆ ภายในสังคม ทัศนคติที่เป็นกระแสรวมของประชากรและการสื่อความระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วยกันล้วนมีอิทธิพลมากในผลลัพธ์ที่ได้ออกมา การศึกษาวัฒนธรรมต่าง ๆ ในสังคมหนึ่งเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งการการวิจัยที่ขึ้นอยู่กับตัวแปรที่มากมายหลายหลาก

[แก้] วัฒนธรรมโดยภูมิภาค
วัฒนธรรมภูมิภาคจำนวนมากได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา

[แก้] แอฟริกา
แม้จะมีต้นตอที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมแอฟริกา โดยเฉพาะวัฒนธรรมแถบใต้สะฮาราซึ่งได้รับการก่อรูปโดยการตกเป็นอาณานิคมของยุโรป และโดยเฉพาะแอฟริกาเหนือที่ถูกก่อรูปโดยวัฒนธรรมอาหรับและอิสลาม

[แก้] อเมริกา

ผู้ชายชาวโฮปีคนหนึ่งกำลังทอผ้าด้วยเครื่องทอพื้นเมืองในวัฒนธรรมของอเมริกาได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากชนพื้นเมืองที่อาศัยในผืนทวีปนั้นมานานก่อนที่ชาวยุโรปย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ ผู้มาจากแอฟริกา (โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ประชากรชาวแอฟริกัน-อเมริกัน) และจากผู้อพยพชาวยุโรปต่าง ๆ โดยเฉพาะชาวสเปน ชาวอังกฤษ ชาวฝรั่งเศส ชาวโปรตุเกส ชาวเยอรมัน ชาวไอร์แลนด์ ชาวอิตาลีและชาวฮอลแลนด์

[แก้] เอเชีย
แม้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศเอเซียจะสูงมากก็ตาม แต่ก็ยังมีอิทธิพลของการเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมให้เห็นไม่น้อย แม้เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนามไม่ใช้ภาษาจีนในการพูด แต่ภาษาของประเทศเหล่านี้ก็มีอิทธิพลของจีนทั้งการพูดและการเขียน ดังนั้น ในเอเซียตะวันออก อักษรจีนจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวกลางของอิทธิพล ด้านศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า มีผลกระทบสูงต่อวัฒนธรรมประเพณีของประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออก รวมทั้งการมีลัทธิขงจื๊อผสมปนอยู่ในปรัชญาทางสังคมและศีลธรรมของประเทศเหล่านี้

ศาสนาฮินดู และ อิสลาม ส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อประชากรในเอเซียใต้มานานนับหลายร้อยปี เช่นเดียวกันที่ศาสนาพุทธแพร่กระจายเป็นอย่างมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

[แก้] แปซิฟิก
เกือบทุกประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับอิทธิพลอย่างต่อเนื่องจากวัฒนธรรมของชนพื้นถิ่นเดิม แม้จะได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของวัฒนธรรมยุโรปบ้าง โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และเกือบทุกประเทศในหมู่เกาะโปลินีเซียนับถือศาสนาคริสต์ ประเทศอื่น ๆ เช่นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ถูกครอบงำโดยผู้อพยพที่เป็นชนผิวขาวและลูกหลานของพวกชนเหล่านี้ แต่ถึงกระนั้นวัฒนธรรมพื้นถิ่นออสเตรเลียและวัฒนธรรมเมารีในนิวซีแลนด์ก็ยังปรากฏให้เห็นชัดเจน

[แก้] ยุโรป
วัฒนธรรมยุโรปก็เช่นกันที่ได้ส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางออกไปใกลจากผืนทวีปจากการล่าอาณานิคม ในความหมายอย่างกว้างมักเรียกว่าเป็น "วัฒนธรรมตะวันตก" อิทธิพลดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดจากการแพร่หลายของภาษาอังกฤษ และภาษายุโรปบางภาษาแม้ไม่มากเท่า อิทธิพลทางวัฒนธรรมสำคัญที่มีต่อยุโรปได้แก่วัฒนธรรมกรีกโบราณ โรมันโบราณและศาสนาคริสต์ แม้อิทิพลทางศาสนาจะจางลงในยุโรปบ้างแล้วก็ตามแต่

[แก้] ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
โดยทั่วไป ประเทศกลุ่มตะวันออกกลางมีวัฒนธรรมสำคัญที่เด่นชัดอยู่ 3 ได้แก่วัฒนธรรมอารบิก วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตุรกีซึ่งต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกันในระดับต่างมาตลอดช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ผ่านมา ภูมิภาคทั้งหมดเป็นมุสลิมแต่ก็มีคริสเตียนและศาสนาของชนกลุ่มน้อยบางศาสนาแทรกอยู่บ้าง

วัฒนธรรมอารบิกได้รับอิทธิพลที่ลึกมากจากวัฒนธรรมเปอร์เซียและตุรกีผ่านทางศาสนาอิสลาม ระบบการเขียน ศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณคดีและอื่น ๆ ระยะทางที่ใกล้ของอิหร่านส่งอิทธิพลต่อภูมิภาคที่อยู่ใกล้ เช่นอิรักและตุรกี การสืบย้อนทางภาษาพบได้ในสำเนียงอาหรับในภาษาอิรักและภาษาคูเวตรวมทั้งในภาษาตุรกี การครอบครองตะวันออกกลางที่นานถึง 500 ปีของพวกอ๊อตโตมานมีอิทธิพลที่รุนแรงมากต่อวัฒนธรรมอาหรับ ซึ่งอาจแผ่ไปไกลถึงอัลจีเรียและจะพบอิทธิพลระดับสูงที่อียิปต์ อิรักและลิแวนต์ (Levant) ในแถบตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

[แก้] ระบบความเชื่อ
ดูบทความหลักที่ ศาสนา
ศาสนาและระบบความเชื่ออื่น ๆ มักรวมเป็นส่วนที่แยกไม่ได้กับวัฒนธรรม Religion ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละติน religare มีความหมายว่า "to bind fast" หรือ "การผูกมัดที่แน่นหนา" ศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด[18]

ศาสนามักกำหนดกฎระเบียบปฏิบัติ เช่น "บัญญัติ 10 ประการ" ในศาสนาคริสต์ หรือ "ศีลห้า" ในพระพุทธศาสนา ในบางครั้งก็เกี่ยวพันกับรัฐบาล เช่นในระบอบ "เทวาธิปไตย" (theocracy) รัฐที่ปกครองโดยใช้หลักศาสนา นอกจากนี้ศาสนายังมีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะ

ประเพณีศูนย์ยุโรป ในบางกรณี ประเพณีศูนย์ยุโรป (Eurocentric) มีผลต่อการแบ่งภูมิภาคเป็นตะวันตกและไม่ใช่ตะวันตก ซึ่งมีข้อเสียอยู่เช่นกัน วัฒนธรรมตะวันตก แผ่กระจายจากยุโรปไปถึงออสเตรเลีย แคนาดาและสหรัฐฯ ค่อนข้างเข้มข้น วัฒนธรรมตะวันตกได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากกรีกโบราณ โรมโบราณและศาสนาคริสเตียน

วัฒนธรรมตะวันตกมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจเจกมากกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตก วัฒนธรรมมองมนุษย์ พระเจ้าและธรรมชาติหรือจักรวาลแยกส่วนมากกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตกบ่งชี้ด้วยความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรู้หนังสือและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

[แก้] กลุ่มศาสนาแอบราฮัม (Abrahamic religions)
ลัทธิยูดา นับได้ว่าเป็นศาสนาแรกในกลุ่ม เป็นลัทธิเทวนิยมที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดและยังอยู่ยั่งยืนถึงปัจจุบัน[19] คุณค่าและประวัติศาสตร์ของชาวยิวนับเป็นส่วนหลักสำคัญที่ เป็นรากฐานของกลุ่มศาสนาแอบราฮัมอื่น เช่นคริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม รวมทั้งศาสนาบาไฮ อย่างไรก็ดี แม้จะมีรากฐานร่วมจากแอบราฮัมด้วยกันมาแต่โบราณ แต่แต่ละศาสนาก็มีความแตกต่างกันทางศิลปะที่ชัดเจน (ทั้งทัศนศิลป์และนาฏศิลป์) ซึ่งความแตกต่างนี้เนื่องมากจากอิทธิพลภูมิภาคที่มีอยู่ก่อนโดยมีศาสนาเข้ามาในภายหลังและกลายเป็นศาสนาที่เป็นตัวแสดงลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมในเวลาต่อมา

ศาสนาคริสต์กลายเป็นอิทธิพลแปลงโฉมที่สำคัญของยุโรปและโลกใหม่ อย่างน้อยก็เป็นเวลานับได้ในช่วง 500 ถึง 1700 ปี มาแล้ว แนวคิดทางปรัชญาสมัยใหม่ส่วนใหญ่ได้อิทธิพลจากนักปรัชญาคริสเตียน เช่น เซนต์โทมัส อาควีนัส และ อีราสมุส มหาวิหารคริสเตียนได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญเช่นเดียวกับโบสถ์โนเตรอะดามในปารีส เวลส์แคทรีดรัล และโบสถ์มหานครในเมกซิโกซิตี

อิทธิพลอิสลามเป็นอิทธิพลที่ครอบงำภาคเหนือของแอฟริกา ภูมิภาคตะวันออกกลางและตะวันออกกลางเป็นเวลานานเกือบ 1,500 ปี บางครั้งมีการผสมผสานกับศาสนาอื่นบ้าง อิทธิพลอิสลามอาจเห็นได้จากปรัชญาต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น อิบันบาจจาห์ (Ibn Bajjah) อิบันตูเฟล (Ibn Tufail) อิบันคาห์ดุน (Ibn Khaldun) และ อะเวอร์โรส (Averroes) นอกจากนี้ยังมี เรื่องร้อยกรองและวรรณคดี เช่น เฮวี อิบันยักดานห์ (Hayy ibn Yaqdhan) เดอะแมดแมนออฟเลย์ลา (The Madman of Layla) เดอะคอนเฟอเรนซ์ออฟเดอะเบิร์ด (The Conference of the Birds) และเดอะมาสวานิ (Masnavi) ในศิลปะและสถาปัตยกรรมก็มีอิทธิพลอิสลามที่สำคัญเช่น สุเหร่าอูเมย์ยาด (Umayyad Mosque) โดมทองแห่งเยรุซาเล็ม (Dome of the Rock) สุเหร่าไฟซาล ฮาไกโซเฟีย (ซึ่งเคยเป็นทั้งโบสถ์และสุเหร่า) พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสไตล์อาหรับ (Arabesque) อื่นๆ

ศาสนายูดาและศาสนาบาไฮ ปกติเป็นศาสนากลุ่มน้อยอยู่ในชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังมีส่วนที่เด่นชัดในวัฒนธรรมรวมและศาสนารวมของชาตินั้น ๆ บุคคลสำคัญที่นับถือศาสนายูดาซึ่งเป็นที่รู้จักได้แก่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และเฮนรี คิสซิงเจอร์ นักดนตรี นักแสดง เช่น พอลลา อับดุล แซมมี เดวิส จูเนียร์และบ็อบ ดีแลน สำหรับศาสนาบาไฮที่เด่นคือโบสถ์บาไฮที่สวยงาม นักดนตรีเช่น ดิสซีกิลลิสปี และนักคิดเช่น อาเลน ลีรอย ล็อก เฟรเดริก เมเยอร์และริชาร์ด เซนต์บาร์บ เบเกอร์ เป็นต้น

มานุษยวิทยาสายหลักมีมุมมองทางวัฒนธรรมว่าประชาชนจะมีความรู้สึกต่อต้านเมื่อถูกบอกว่ามีสัตว์และวิญญาณฝังอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์[20]

[แก้] ศาสนาตะวันออกและปรัชญา

แอกนี, ฮินดู เทพแห่งเพลิงปรัชญาและศาสนามักจะกลมกลืนผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในแนวคิดตะวันออก ประเพณีศาสนาและปรัชญาตะวันออกหลายกลุ่มมีต้นตอมาจากอินเดียและจีนและแผ่ขยายไปทั่วเอเซียจาก การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (cultural diffusion) และการย้ายถิ่นของประชากร ศาสนาฮินดูเป็นบ่อเกิดของพระพุทธศาสนา นิกายมหายานซึ่งแพร่กระจายขึ้นเหนือและตะวันออกจากอินเดียสู่ธิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลี อ้อมลงใต้จากจีนสู่เวียดนาม พุทธศาสนานิกายเถรวาทแพร่กระจายจากอินเดียสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ศรีลังกา บางส่วนทางภาคใต้ของจีน กัมพูชา ลาว พม่าและไทย

ปรัชญาอินเดียรวมถึงปรัชญาฮินดู มีองค์ประกอบที่ไม่แสวงหาวัตถุ ในขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งจากอินเดีย คือ (Carvaka?) สอนให้แสวงหาความสุขจากโลกวัตถุ ทั้งลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าซึ่งมีบ่อเกิดในจีนได้มีอิทธิพลฝังลึกทั้งในศาสนาและแนวคิดทางปรัชญารวมทั้งในหลักการปกครองบ้านเมืองและศิลปะไปทั่วเอเซีย

ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444 – พ.ศ. 2543) สองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในเอเซียที่มีความแตกต่างในแนวคิดทางปรัชญาการเมืองได้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้น คานธีให้ความหมายใหม่กับคำว่า "อหิงสา" ซึ่งเป็นความเชื่อหลักของทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาเชน และได้ปรับความหมายใหม่มาเป็นแนวคิด "ความไม่รุนแรง" (nonviolence) และการไม่ต่อต้าน (nonresistance) ซึ่งกว้างไกลออกไปจากวงกรอบล้อมของอินเดีย ในระยะเดียวกัน ปรัชญาคอมมิวนิสต์ของเมาเซตุงได้กลายเป็นระบบความเชื่อนอกศาสนาที่มีอำนาจมาก

[แก้] ศาสนาพื้นบ้าน
ศาสนาพื้นบ้านที่นับถือโดยชนเผ่าต่าง ๆ มีอยู่ทั่วไปในเอเซีย แอฟริกาและอเมริกา อิทธิพลของศาสนาเหล่านี้มีมากพอควร ซึ่งมีทั้งเผยแพร่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมและในบางกรณีกลายเป็นศาสนาประจำชาติ เช่นศาสนาชินโต เช่นเดียวกับศาสนาหลักต่าง ๆ ศาสนาพื้นบ้านสามารถตอบสนองความต้องการการปกป้องคุ้มครองยามมีภัย ช่วยรักษาความเจ็บป่วย ล้างความอับโชคและช่วยทำพิธีต่าง ๆ รวมทั้งการเป็นช่องการเกิดและตายของมนุษย์

[แก้] ความฝันอเมริกัน
"ความฝันอเมริกัน" (The "American Dream") เป็นความเชื่อของชาวอเมริกันจำนวนมาก ว่าด้วยการทำงานหนัก กล้าหาญและมีความมุ่งมั่น โดยไม่คำนึงถึงชั้นสังคม บุคคลสามารถบรรลุสู่ชีวิตที่ดีกว่าได้เสมอ[21] ความคิดนี้มีรากมาจากความเชื่อที่ว่าสหรัฐอเมริกาคือ "เมืองบนเนินเขา เป็นแสงที่ก่อให้เกิดประเทศ" ซึ่งเป็นคุณค่าที่ยึดถือโดยชาวยุโรปผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคแรก ๆ และได้ยึดถือคุณค่านี้สืบมาหลายชั่วคน[22]

แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอื่นด้วย เช่นกรณีของ "ความฝันออสเตรเลียอันยิ่งใหญ่" แม้จะสะท้อนไปทาง "การเป็นเจ้าของบ้าน" มากกว่า

[แก้] การแต่งงาน
โบสถ์คริสเตียนเกือบทั้งหมดมักใช้เป็นที่ประกอบพิธีแต่งงาน ซึ่งปกติส่วนหนึ่งของพิธีมักรวมถึงการปวารณาที่จะสนับสนุนโบสถ์ ในการแต่งงาน ชาวคริสเตียนจะมีความสัมพันธ์คู่ขนานไปกับพระเยซูและโบสถ์ของตน ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีความเชื่อว่าการหย่าร้างผิดศีลธรรม และคู่หย่าร้างไม่อาจแต่งงานใหม่ในโบสถ์ได้ หากไม่ทำพิธีล้างบาปอย่างเป็นทางการก่อน

[แก้] วัฒนธรรมศึกษา
วัฒนธรรมศึกษา เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา) เป็นส่วนหนึ่งของการนำแนวคิดลัทธิมากซ์มาบรรจุในวิชาสังคมวิทยาอีกครั้งหนึ่ง และส่วนหนึ่งก็เป็นเสียงให้กับสังคมวิทยาและสาขาวิชาอื่น เช่นวรรณคดีวิจารณ์ ขบวนการนี้มุ่งประเด็นไปเน้นที่การวิเคราะห์กลุ่มวัฒนธรรมย่อยในสังคมทุนนิยม ตามประเพณีที่ไม่นับเป็นมานุษยวิทยา วัฒนธรรมศึกษาโดยทั่วไปจะเน้นการศึกษาสินค้าเพื่อการบริโภค (เช่นแฟชัน ศิลปะและวรรณคดี) เนื่องจากความเด่นชัดระหว่าง "วัฒนธรรมสูง" และ "วัฒนธรรมต่ำ" ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (พ.ศ. 2343-พ.ศ. 2443) ดูเหมือนจะเหมาะเพียงสำหรับการประยุกต์กับสินค้าที่ใช้วิธีการผลิตเป็นจำนวนมากและจำหน่ายในตลาดเป็นจำนวนมากที่วัฒนธรรมศึกษาได้วิเคราะห์ไว้ ซึ่งนักวิชาการเอ่ยถึงในชื่อว่า "วัฒนธรรมนิยม"

ปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาบางคนได้เข้ามาร่วมงานด้านวัฒนธรรมศึกษามากขึ้น เกือบทั้งหมดไม่ยอมรับการบ่งชี้ถึงวัฒนธรรมคู่กับสินค้าบริโภค ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังต่อต้านความคิดของวัฒนธรรมว่าเป็นการผูกมัด มีผลให้ไม่ยอมรับแนวคิดของกลุ่มวัฒนธรรมไปด้วย พวกเขามองวัฒนธรรมเป็นสายใยที่ซับซ้อนของรูปแบบที่กำลังเชื่อมโยงกับประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ และเชื่อมกับการก่อรูปของสังคมในขนาดที่ต่างกันด้วย ตามมุมมองดังกล่าวกลุ่มใด ๆ ก็สามารถสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนได้เอง

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการโต้เถียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมว่าจะสามารถเปลี่ยนพื้นฐาน "การเรียนรู้ของมนุษย์" ได้หรือไม่ ซึ่งนักวิจัยทั้งหลายก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่

[แก้] การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม

ภาพพิมพ์ลายแกะสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344 – 2443) แสดงภาพชนพื้นเมืองออสเตรเลียต่อต้านการมาถึงของกัปตันเจมส์ คุก เมื่อ พ.ศ. 2313แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ไม่ว่าในทางยอมรับหรือต่อต้าน ย่อมขึ้นอยู่กับรากฐานของวัฒนธรรมในสังคมนั้น ตัวอย่างเช่น ความเป็นชายและหญิงที่ต่างมีบทบาทอยู่ในหลายวัฒนธรรม เพศใดเพศหนึ่งอาจต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกระทบต่ออีกเพศหนึ่ง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2493 -2443) ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักดันชักจูงทั้งสองทาง คือการกระตุ้นให้ยอมรับสิ่งใหม่ และการอนุรักษ์ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น

อิทธิพลทั้ง 3 ประการต่อไปนี้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการต่อต้าน

แรงผลักดันในที่ทำงาน
การติดต่อกันระหว่างกลุ่มสังคม
การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ[23]
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดช่วยนำไปสู่การค้นพบการทำเกษตรกรรม และตัวเกษตรกรรมเองก็เป็นตัวก่อให้เกิดนวัตกรรมมากมายทางเกษตรกรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้ก็ได้นำไปสู่นวัตกรรมอื่น ๆ ทางวัฒนธรรม

การแพร่กระจายนี้ ทำให้เกิดรูปแบบบางอย่างที่เคลื่อนตัวจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง ตัวอย่างแฮมเบอร์เกอร์ ที่มีอยู่ทั่วไปในอเมริกาแต่อาจเป็นสิ่งแปลกใหม่เมื่อเริ่มกิจการในประเทศจีน "การแพร่กระจายแบบกระตุ้น" (Stimulus diffusion) หมายถึงองค์ประกอบของวัฒนธรรมหนึ่งที่นำไปสู่การค้นพบในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ทฤษฎีการแพร่นวัตกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงแบบจำลองที่ใช้พื้นฐานการวิจัยเมื่อบุคคลหรือวัฒนธรรมยอมรับความคิดใหม่ ๆ วิธีปฏิบัติใหม่ ๆ และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

การรับวัฒนธรรมอื่น (Acculturation) มีความหมายต่างกันหลายประการ แต่ในบริบทนี้หมายถึงการเปลี่ยนแทนลักษณะรากฐานจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง เช่นที่เกิดกับชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกาบางเผ่า รวมทั้งกลุ่มชนพื้นเมืองจำนวนมากทั่วโลกในระหว่างกระบวนการการครอบครองอาณานิคม กระบวนการอื่นที่สัมพันธ์ในระดับปัจเจกบุคคลรวมถึงการผสมกลมกลืน (การยอมรับเอาวัฒนธรรมอื่นมาเป็นของตนในระดับบุคคล) และการผ่านข้ามทางวัฒนธรรม (transculturation)

การประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม ได้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีประโยชน์แก่กลุ่มชนและแสดงถึงพฤติกรรมของพวกเขา โดยมิได้เป็นสิ่งซึ่งจับต้องได้ มนุษยชาติกำลังอยู่ในระยะการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในอัตราเร่งทั่วทั้งโลก ซึ่งขับเคลื่อนโดยการขยายตัวของการค้าของโลก การสื่อสารมวลชน และเหนือกว่าสิ่งอื่นใดก็คือการ "ระเบิด" ของประชากร ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ ปัจจุบันประชากรโลกมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายใน 40 ปี[24]

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมีความซับซ้อนและมีผลกระทบระยะยาวมาก นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญมากในการสร้างความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การคงอยู่ของมนุษย์อาจมองได้ว่าเป็น "แง่มุมรวมที่เป็นอเนก" (multifaceted whole) และเพียงด้วยจุดมองนี้เองที่จะช่วยให้เราสามารถรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่เป็นจริง[24]

ผลไม้

ผลไม้ไทยได้ประโยชน์

จาก กินอาหารสะอาด รสชาติอร่อย
โดย กองสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

    ของดีของเมืองไทยนั้นมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะผลไม้ไทย ที่ให้ทั้งประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย ในผลไม้แต่ละชนิดต่างมีรสชาติ กลิ่น และรูปร่างที่แตกต่างกัน ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดก็จะใช้สารอาหาร แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ และเส้นใยอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย หากต้องการรับประโยชน์จากผลไม้อย่างเต็มที่ ... ควรรับประทานผลไม้สด และไม่ทิ้งไว้นาน หลังการปอก หรือหั่น หากเป็ยผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหาร หรือนำมาเป็นขนมอบ จะทำให้ปริมาณสารอาหารลดลงได้ และถ้าจะให้ดี ต้องทานผลไม้ตามฤดูกาล เพราะผลไม้ในฤดูนั้นๆ จะออกดอกออกผลตามธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ง่าย และมีราคาถูก


        ผลไม้ ... พลังบำบัดความสดชื่นจากธรรมชาติ การรับประทานผลไม้เป็นประจำ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว มีผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลอย่างเห็นได้ชัด ผลไม้ ... ยังเปี่ยมไปด้วยสรรคุณทรงคุณค่า ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรค และกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย

    นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของผลไม้ไทย ... ได้ประโยชน์ เห็นมั๊ยคะว่า คนไทยนั้นมีของดีอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะนำของดีอย่าง ... ผลไม้ไทยเหล่านี้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่างร่างกายหรือเปล่า ? คุณสมบัติของผลไม้ดีๆ ที่นอกเหนือจากรสชาติที่อร่อยนี้ หาได้ไม่ยาก ถ้าอย่างนั้น เรามาทำความรู้จักกับผลไม้ไทย ... ได้ประโยชน์กันดีกว่า


__________________

... กล้วย ...

    กล้วย ... เป็นผลไม้ที่สามารถหากินกันได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยหักมุก หรือกล้วยไข่ นอกจากนี้จะมีรสชาติหอมหวานแล้ว ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรตสูง และมีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยออกมาว่า กินกล้วยเป็นประจำแค่สัปดาห์ละ 2 ผล จะช่วยลดความดันเลือดลงไปได้ถึง 10% เพราะเอนไซม์ในกล้วยจะไปช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้คล่องตัวขึ้น และเมื่อไหร่ที่รู้สึกเครียด กล้วยก็ยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายได้ เพราะในกล้วยมีโปแตสเซียม ถือได้ว่า กล้วยสามารถเป็นยารักษาโรคเบื้องต้น ที่มีราคาถูก และหาซื้อได้ง่ายตลอดปี
    นอกจากนี้ กล้วยสุกงอม ... ยังเป็นอาหารชั้นดี สำหรับเด็กทารก ตั้งแต่อายุ 3 เดือน ถึง 2 ขวบ เป็นผลไม้ที่ช่วยให้เด็กทารเจริญเติบโต ได้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่ในผู้ใหญ่ ก็ยังช่วยแก้โรคท้องผูก ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย เพราะมีสารพวกเปคติน (pectin) อยู่มาก เป็นการช่วยเพิ่มกากอาหาร และมีเมือกลื่นช่วยให้ถ่ายสะดวก เพียงแค่กินกล้วยสุกวันละ 2-4 ผล คุณประโยชน์จากกล้วย ก็จะทำให้มีสุขภาพดีได้
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับสาววัยแรกรุ่น ... กล้วยไข่ยังมีความพิเศษในเรื่อง ของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เบต้าแคโรทีน ซึ่งช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สามารถเป็นผู้ช่วยในการดูแลผิวพรรณได้อีกด้วย
    ฤดูการน่าซื้อ : กล้วย ... หาซื้อได้ง่ายตลอดปี แต่ถ้าเป็นกล้วยไข่ จะให้ผลผลิตมาก ในเดือน สิงหาคม - พฤศจิกายน



__________________


... ขนุน ...

    ขนุน ... จัดเป็นผลไม้ไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในรสชาติ และมีกลิ่นอันหอมหวาน อีกทั้งผลขนุนยังมีสรรพคุณ ในการรักษาโรคต่างๆ มากมาย อาทิ
    เนื้อของผลขนุน ช่วยย่อยอาหาร ช่วยดูดซึมแก้พิษ จากการดื่มนม และยังช่วยแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
    ใบของต้นขนุนตากแห้ง สามารถใช้ห้ามเลือด และเป็นยาสมานแผลได้
    ยางของขนุนมีสรรพคุณในการแก้ปวด ลดอาการอักเสบ บวม สามารถรักษาอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ และรักษาแผลเปื่อยเรื้อรังให้หายได้
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับสตรีหลังคลอด ... เม็ดขนุนมีสรรพคุณในการช่วยเพิ่มน้ำหนักได้
    ฤดูการน่าซื้อ : ขนุน ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนมกราคม - พฤษภาคม


__________________

... เงาะ ...

    เงาะ ... เป็นผลไม้ที่มีรูปลักษณ์แปลก และโดดเด่น มีลักษณะผลค่อนข้างกลมรี สีเหลือง - อดง หรือแดงปนเหลือง มีขนอยู่โดยรอบ เนื้อภายในผลมีลักษณะอ่อนนุ่ม สีขาวใส หรืออมเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เงาะอุดมไปด้วยวิตามินซี แคลเซียม และฟอสฟอรัส ในเนื้อเงาะมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องร่วง ได้เป็นอย่างดี
    เปลือกของผลเงาะยังสามารถช่วยแก้อักเสบในช่องปาก โดยการนำเปลือกของผลเงาะต้มสุกมาต้มกินกับน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาอาการอักเสบภายในช่องปากได้
    ข้อควรระวัง เม็ดของเงาะมีพิษ หากกินเข้าไปแล้วจะทำให้คลื่นไส้อาเจียน
    ฤดูการน่าซื้อ : เงาะ ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนพฤษภาคม + กันยายน

__________________


... แตงโม ...

    แตงโม ... เป็นผลไม้ที่สมาคมโรคหัวใจในอเมริกายอมรับว่า แตงโมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีน้ำอยู่ถึงร้อยละ 92 ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ มีปริมาณ Glutathione มหาศาล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มี Lycopene มาก และสามารถป้องกันโรคมะเร็งที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการของโรคไข้หวัด หรือเจ็บคอ ช่วยลดความดันโลหิต และยังช่วยในการซับน้ำปัสสาวะได้ดี
    เนื้อของแตงโม นอกจากจะมีรสหวานแล้ว ยังมีสรรพคุณในการเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยในการย่อย แถมยังทำให้เจริญอาหาร เพิ่มความสดชื่นให้กับชีวิต และขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างหมดจด
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้ป่วยโรคไตอักเสบเรื้อรัง ... สามารถนำเปลือกแตงโมมาต้ม และเครี่ยวจนข้น เพื่อนำมาบรเทาอาการโรคได้
    ฤดูการน่าซื้อ : แตงโม ... หาซื้อได้ง่ายตลอดปี แต่ถ้าจะให้ดี แตงโมจะให้ผลผลิตมากในเดือนตุลาคม - มีนาคม


__________________

... ทุเรียน ...

    ทุเรียน ... เป็นผลไม้เมืองร้อยที่เก่าแก่ชนิดหนึ่ง จัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่เชิดหน้าชูตาของคนไทย เพราะมีเอกลักษณ์โดดเด่นสูง ทั้งในรูปร่าง กลิ่น และรสชาติ นับได้ว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุด และเป็นที่นิยมทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ นอกจากทุเรียนจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว นื้อของทุเรียนยังให้คุณค่าทางสารอาหาร อย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส และมีวิตามินสูง ีอีกทั้งยังช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี
    เนื้อของแตงโม นอกจากจะมีรสหวานแล้ว ยังมีสรรพคุณในการเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยในการย่อย แถมยังทำให้เจริญอาหาร เพิ่มความสดชื่นให้กับชีวิต และขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างหมดจด
    ข้อควรระวัง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วน ... ไม่ควรกินทุเรียนมากเกินไป เพราะทุเรียนจัดว่าเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง เป็นอันดับต้นๆ ทำให้แคลอรี่ในร่างกายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
    ฤดูการน่าซื้อ : ทุเรียน ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม


__________________


... น้อยหน่า ...

    น้อยหน่า ... เป็นผลไม้ที่มีเนื้อสีขาว มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ทั้งวิตามิน เกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณในการเป็นยาระบายอ่อนๆ และช่วยทำให้ชุ่มคออีกด้วย
    ข้อควรระวัง เมล็ดของน้อยหน่ามีคม หากกลืนลงคอ อาจทำให้ปลายแปลมของเมล็ดบาดคอได้
    ฤดูการน่าซื้อ : น้อยหน่า ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนมิถุนายน - กันยายน

__________________


... ฝรั่ง ...

    ฝรั่ง ... เป็นผลไม้ที่มีวิตามินอยู่มาก และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ ไฟเบอร์ที่มีมากในเมล็ดของฝรั่ง และจากที่ฝรั่งเป็นผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง (มากกว่าส้มถึง 5 เท่า) จึงมีบทบาทในการบำรุงผิวพรรณของผู้หญิง ด้วยการสร้างคอลลาเจน และสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น และเต่งตึง ไม่แก่ก่อนวัย อีกทั้งยังเป็นยารักษาโรคได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อของผลฝรั่ง ใบ และราก ของต้นฝรั่งนั้น ต่างก็มีสรรพคุณในการใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น โรคท้องร่วง โรคบิด โรคลำไส้อักเสบ ช่วยในการห้ามเลือด และสมานแผล หรือแม้แต่การเสริมภูมิต้านทานโรคได้ เป็นต้น
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก สามารถนำใบฝรั่งสดมาเคี้ยว เพื่อช่วยระงับกลิ่นได้เป็นอย่างดี
    ฤดูการน่าซื้อ : ฝรั่ง ... หาซื้อได้ง่ายตลอดปี


__________________


... มะพร้าว ...

    มะพร้าว ... ผลไม้ที่เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงบรรยากาศชายทะเล ด้วยกลิ่นหอมอ่อน และรสชาติหวานของน้ำมะพร้าวที่ มีฤทธิ์ในการลดความร้อน ดับกระหาย ลดอาการอ่อนเพลีย และใช้ในการขับพยาธิชนิดต่างๆ ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด เป็นต้น และในเนื้อของมะพร้าวยังมีคุณสมบัติในการบำรุงร่างกาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้มีอาการของโรคหัวใจ ควรดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำ จะช่วยป้องกันอาการของโรคหัวใจล้มเหลว
    ฤดูการน่าซื้อ : มะพร้าว ... หาซื้อได้ง่ายตลอดปี


__________________


... มะม่วง ...

    มะม่วง ... เป็นผลไม้ยอดนิยมของบรรดาสาวๆ เป็นอย่างมาก ด้วยรสชาติอร่อย สามารถทานได้ทั้งผลดิบ ผลสุก กวน ดอง และแช่อิ่ม อีกทั้งยังมีหลากหลายรสชาติให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน น้ำดอกไม้ อกร่อง พิมเสน แก้ว เจ้าคุณทิพย์ สายฝน หรือแม้แต่พันธุ์ทองคำ ล้วนมีสรรพคุณทางยาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ดับกระหาย ขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคความจำเสื่อม ช่วยให้เลือดแะลประจำเดือนของสตรีเป็นปกติ และในมะม่วงยังมีเอนไซม์ พาเพอิน ที่ช่วยย่อยสลายโปรตีน ที่คั่งค้างในระบบย่อยอาหาร ยิ่งถ้ากินมะม่วงสดเป็นประจำแล้ว ก็ยังจะช่วยให้อาการไอ หอบ มีเสมหะ หรือมีเลือดออกตามไรฟัน บรรเทาอาการลงได้
    นอกจากนี้ มะม่วงยังมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง รวมไปถึงการกระตุ้นให้ร่างกาย ต่อสู้กับเนื้อร้าย ด้วยสารสำคัญที่มีชื่อว่า เบต้าแคโรทีน ที่สามารถป้องกัน และยังยั้งการเป็นมะเร็งในระยะต่างๆ แต่เบต้าแคโรทีนก็ไม่สามารถต้านมะเร็ง ในคนที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องได้
    ข้อควรระวัง สำหรับผู้ที่เป็นโรคไต ... ไม่ควรกินมะม่วงมากเกินไปนัก เพราะจะทำให้อาการของโรคกำเริบมากขึ้น
    ฤดูการน่าซื้อ : มะม่วง ... หาซื้อได้ง่ายตลอดปี แต่ถ้าจะให้ดี มะม่วงจะให้ผลผลิตมารกในเดือนมีนาคม - มิถุนายน


__________________


... มะละกอ ...

    มะละกอ ... ได้ชื่อว่า เป็นผลไม้ที่ช่วยเพิ่มความงามของบรรดาสาวๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ประกอบไปด้วย วิตามินเอ บี บี 1 บี 2 แคลเซียม และที่สำคัญคือ สารเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงและทำให้ผิวพรรณดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอความแก่ และริ้วรอยก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ มะละกอยังมีสรรพคุณ ในการช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ช่วยแก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท และระบบสายตาได้
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก มะละกอยังมีสารอาหารที่ช่วยในการทำงาน ของระบบขับถ่ายเป็นอย่างดี
    ฤดูการน่าซื้อ : มะละกอ ... หาซื้อได้ง่ายตลอด


__________________


... มังคุด ...

   มังคุด ... สรรพคุณทางยา ช่วยให้มีการระบายอย่างอ่อน ในกรณีที่เกิดอาการท้องผูกได้
    ข้อควรระวัง หากกินมังคุดมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้
    ฤดูการน่าซื้อ : มังคุด ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนพฤษภาคม - กันยายน



... ลองกอง ...

    ลองกอง ... เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี และฟอสฟอรัส มีสรรพคุณในการลดความร้อน ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เมื่อกินเป็นประจำ จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นไข้ตัวร้อน และช่วยไม่ให้เกิดอาการร้อนในขึ้นในปากได้อีกด้วย
    ฤดูการน่าซื้อ : ลองกอง ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม



... ละมุด ...

    ละมุด ... ผลไม้ที่มีรสหวาน มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล วิตามิน เกลือแร่ชนิดต่างๆ รวมไปถึงการมีแคลเซียมสูง จึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ผู้ที่กินละมุดเป็นประจำ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ
    ฤดูการน่าซื้อ : ละมุด ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนกันยายน - ธันวาคม


... ลางสาด ...

    ลางสาด ... จัดเป็นผลไม้ประเภทเดียวกับลองกอง ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี และฟอสฟอรัส มีสรรพคุณช่วยให้ชุ่มคอ ละลายเสมหะ และช่วยบรรเทาอาการไอได้เป็นอย่างดี
    ฤดูการน่าซื้อ : ลางสาด ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม



... ลำไย ...

    ลำไย ... ผลไม้ไทยที่กำลังโด่งดังมากในต่างประเทศ ด้วยเมล็ดโตและอร่อย ลำไยมีสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคส ซูโคส และวิตามินชนิดต่างๆ โดยเนื้อลำไยมีรสหวาน และมีสรรพคุณแก้ผอมแห้งแรงน้อย นอนไม่หลับ ขี้ลืม ใจสั่น บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยบำรุงกำลังของสตรี ภายหลังจากการคลอดบุตร
    ส่วนลำไยแห้งนั้น จะมีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ ระบบประสาท ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต
    ข้อควรระวัง สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ท้องอืดแน่น ฝ้าบนลิ้นสีขาว และหนา หรือเป็นหวัด ไม่ควรกินลำไย (สด) มากจนเกินไป เพราะลำไยมีคุณสมบัติร้อน จะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ และเป็นร้อนในภายในปากได้
    ฤดูการน่าซื้อ : ลำไย ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม



... ลิ้นจี่ ...

    ลิ้นจี่ ... ผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน มีสรรพคุณเป็นยาช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายในต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นม้าม หรือระบบประสาท นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังช่วยในการบรรเทาอาการ กระหายน้ำได้ และ หากนำเนื้อลิ้นจี่ตากแห้งมาต้มกินเป็นประจำ ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวด อันเนื่องมาจากโรคไส้เลื่อน หรือลูกอัณฑะบวม และยังช่วยรักษาโรคโลหิตจาง ได้อีกด้วย
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้มีอาการของท้องร่วงเรื้อรัง ... ให้นำเนื้อลิ้นจี่มาต้มรวมกับเนื้อพุทรา แล้วนำมากินกับน้ำ จะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงเรื้อรังได้ได้เป็นอย่างดี
    ฤดูการน่าซื้อ : ลิ้นจี่ ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนเมษายน - มิถุนายน



... ส้ม ...

    ส้ม ... ประดุจดั่งยารักษาโรคที่แสนหวาน เป็นแหล่งรวมสารอาหาร อันได้แก่ เกลือแร่ โพแทสเซียม กรดโฟลิก เส้นใยธรรมชาติ และวิตามินต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มเช้ง และส้มอื่นๆ เมื่อกินส้มเป็นประจำ จะช่วยให้มีสุขภาพดี ระบบขับถ่ายทำงานคล่องตัว ป้องกันการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ป้องกันโรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก ตาบอดกลางคืน เพราะส้มอุดมไปด้วยคุณค่าจากวิตามินซี ช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเซลล์ ให้ผิวหน้านวลผ่องสดใส เสริมให้กระดูกแข็งแรง ช่วยให้บาดแผลหายเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ ช่วยป้องกันการเป็นหวัด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากโรคหัวใจเร็วขึ้น
    ในส่วนต่างๆ ของส้มโอ ล้วนแต่มีสรรพคุณในการเป็นยาได้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น เนื้อ เปลือก และเมล็ดของส้มโอ จะมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยในการย่อยอาหาร ลดอาการบวมของผิวหนัง และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะ ที่มีในลำคออีกด้วย
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ... ให้กินส้มโดยไม่คายกาก จะช่วยคุมน้ำหนักได้อีกวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่มท้องเร็วขึ้น และสำหรับสตรีมีครรภ์ นำเอาเปลือกของส้มโอมาสับให้ละเอียด แล้วต้มกับน้ำดื่ม แก้อาการแพ้ท้อง หรือคลื่นไส้อาเจียนได้
    ฤดูการน่าซื้อ : ส้ม ... หาซื้อได้ตลอดปี แต่ถ้าเป็นส้มโอ ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน



... สับปะรด ...

    สับปะรด ... เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง มีปริมาณของวิตามิน เกลือแร่ เส้นใยไฟเบอร์ ที่มีอยู่มากมายในสับปะรด และยังอุดมไปด้วยสารอาหารเสริมความงาม เช่น เบต้าแคโรทีน กรดฟอสฟอริค วิตามินซี โพแตสเซียม และแมกนีเซียม แถมด้วยโบรมาลีน ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้
    สับปะรดยังมีคุณค่าทางยาสูง มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหารจำพวกเนื้อ ลดอาการแน่นท้อง เสริมสร้างการดูดซึม ลดความร้อนของร่างกาย ช่วยแก้กระหาย และสามารถรักษาอาการหวัด และโรคไซนัสอักเสบ นอกจากนี้ สับปะรดยังมีสารที่ช่วยในการรักษาบาดแผล บรรเทาอาการพุพองในแผลที่เกิดจากไฟไหม้ ได้เป็นอย่างดี
    นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัย พบว่า การกินสับปะรดเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคไตอักเสบ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดลมอักเสบอีกด้วย
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้มีอาการบวมน้ำ สับปะรดจะช่วยบรรเทาอาการบวมน้ำ ของร่างกาย และยังช่วยในการขับปัสสาวะ
    ฤดูการน่าซื้อ : สับปะรด ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนเมษายน - มิถุนายน และธันวาคม - มกราคม



... องุ่น ...
    องุ่น ... ผลไม้ที่มีผลเล็ก แต่มีคุณสมบัติไม่เล็กเหมือนตัว เพราะในผลองุ่นมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายคนเราหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคส วิตามินเอ วิตามินซี เหล็ก แคลเซียม และสารอนินทรีย์ในชนิดต่างๆ อีกจำนวนมาก เมื่อกินองุ่นอย่างเป็นประจำ จะทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีอวัยวะภายในที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต หัวใจ แม้แต่ระบบขับถ่าย ที่สามารถรักษาการย่อยอาหารให้เป็นปกติ ช่วยขับปัสสาวะ และระงับความเจ็บปวด อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสี่ยง ในการเป็นโรคดีซ่าน โรคตับอักเสบ และการปวดศีรษะได้เป็นอย่างดี และยังรวมไปถึงการมีสมอง และความจำดี และช่วยแก้กระหายได้อีกด้วย
    สำหรับเหล้าไวน์ที่ทำมาจากผลองุ่น ยังมีสรรพคุณในการป้องกันโรคหัวใจ ลดการสะสมของคอเลสเตอรอล และยับยั้งการจับตัวเป็นลิ่มของเลือด
    เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับสตรีมีครรภ์ ... องุ่นสดสามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้
    ฤดูการน่าซื้อ : องุ่น ... จะให้ผลผลิตมากในเดือนกันยายน - เมษายน