วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

กุ้ง


กุ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในวอกมือด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช
ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น

[แก้]ดูเพิ่ม

ปลาเข็ม


ปลาเข็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาเข็ม
ปลาเข็มตัวเมียในตู้เลี้ยง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Beloniformes
วงศ์:Hemiramphidae
วงศ์ย่อย:Zenarchopterinae
สกุล:Dermogenys
สปีชีส์:D. pusilla
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dermogenys pusilla
Kuhl & van Hasselt1823
ปลาเข็ม (อังกฤษWrestling Halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม(Hemiramphidae)
มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยมักจะพุ่งแทงกัน
มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว
เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย
ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง" [1]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ หน้า 97 และ 98 หนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ พ.ศ. 2547 ISBN 974-00-8738-8

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

ปลาทอง


ปลาทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาทอง
ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ
ปลาทองสายพันธุ์เกล็ดแก้ว สายพันธุ์ที่ถูกผสมขึ้นมาโดยคนไทยเอง
สถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Cypriniformes
วงศ์:Cyprinidae
สกุล:Carassius
สปีชีส์:C. auratus
Subspecies:
  • C. a. auratus
  • C. a. buergeri
  • C. a. grandoculis
  • C. a. langsdorfii
ชื่อวิทยาศาสตร์
Carassius auratus
(Linnaeus1758)
ชื่อพ้อง
  • Carassius encobia
  • Leuciscus auratus
  • Carassius gibelioides
สำหรับปลาทะเลดูที่ ปลาทองทะเล
ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษGoldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-ค.ศ. 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดงสีทองสีส้มสีเทาสีดำและสีขาว แม้กระทั่งสารพัดสีในตัวเดียวกัน ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17[1] และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-ค.ศ. 1489
ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน,ฮ่องกง,สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุนมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป

เนื้อหา

[แก้]สายพันธุ์ปลาทอง

มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด
นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว
มีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โคเมทชูบุงกิ้นวากิ้น เป็นต้น
2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่
ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ออรันดาเกล็ดแก้วรักเล่แพนด้าโทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีนสิงห์ญี่ปุ่นสิงห์ดำตามิดรันชูลูกโป่งตากลับ เป็นต้น[2]

[แก้]การเลี้ยงตามความเชื่อ

นอกจากนี้แล้ว การเลี้ยงปลาทองยังอยู่ในความเชื่อของชาวจีนอีกด้วยว่าก่อให้เกิดโชคลาภ โดยว่ากันตามหลักฮวงจุ้ยว่ากันด้วยเรื่องจำนวนของปลาที่เลี้ยง, สีของปลา และตำแหน่งการวางตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงด้วย ซึ่งแตกต่างออกไปตามลักษณะของบ้านและเจ้าของ [3]

[แก้]ดูเพิ่ม

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ปลาทอง

ปลาบึก


ปลาบึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาบึก
ปลาที่ถูกจับได้ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Siluriformes
วงศ์:Pangasiidae
สกุล:Pangasianodon
Chevey, 1931
สปีชีส์:P. giagas
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasianodon gigas
(Chevey, 1931)
ชื่อพ้อง
  • Pangasius gigas
  • Pangasius paucidens
ปลาบึก (อังกฤษMekong Giant Catfishชื่อวิทยาศาสตร์Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCNจัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pangasinodon[1] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ
ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช"
ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมและได้ลูกออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศ อาทิ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา[2], บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[3] เป็นต้น

[แก้]อ้างอิง

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น