วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


งูเขียวหัวจิ้งจก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูเขียวหัวจิ้งจก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Reptilia
อันดับ:Squamata
วงศ์:Colubridae
วงศ์ย่อย:Colubrinae
สกุล:Ahaetulla
สปีชีส์:A. prasina
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ahaetulla prasina
(Shaw, 1802)
ชนิดย่อย
  • A. p. prasina (Boie, 1827)
  • A. p. medioxima (Lazell, 2002)
  • A. p. preocularis (Taylor, 1922)
  • A. p. suluensis (Gaulke, 1994) [1]
ชื่อพ้อง
  • Dryophis prasinus
งูเขียวหัวจิ้งจก หรือ งูเขียวปากจิ้งจก (อังกฤษOriental whipsnake) เป็นงูที่มีพิษอ่อนมากชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ahaetulla prasina ในวงศ์ Colubridae มีลักษณะลำตัวเรียวยาว หัวหลิม ปลายปากแหลม ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร พื้นลำตัวโดยมากเป็นสีเขียว มักจะมีเส้นสีขาวข้างลำตัวบริเวณแนวต่อระหว่างเกล็ดตัวกับเกล็ดท้อง เส้นขาวยาวตั้งแต่บริเวณคอ จนถึงโคนหาง ท้องขาว ส่วนหางตั้งแต่โคนหางถึงปลายหางจะมีสีน้ำตาลหรือสีชมพู ตามีขนาดใหญ่ม่านตาอยู่ในแนวนอน อาศัยอยู่ตามต้นไม้ พบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ในป่าทุกประเภท แม้กระทั่งสวนสาธารณะหรือสวนในบริเวณบ้านเรือนของผู้คนที่อยู่ในเมือง
มีพิษอ่อนมาก โดยพิษจะสามารถทำอันตรายได้เฉพาะสัตว์เล็กที่เป็นอาหาร เช่น จิ้งจกกิ้งก่านก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เป็นต้น ขณะที่ลูกงูจะกินแมลงเป็นอาหาร โดยเป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ระยะเวลาการตั้งท้อง 4 เดือน ออกลูกได้ครั้งละ 6-10 ตัว การผสมพันธุ์จะเริ่มขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน
งูเขียวหัวจิ้งจก มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับงูอีก 2 ชนิด ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือ งูเขียวปากแหนบ (A. nasuta) และงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู (A. mycterizans) โดยงูทั้ง 3 ชนิด นี้ จะมีความหลากหลายทางสีสันมาก โดยจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายออกไป ทั้งสีเขียว, สีส้มสีเหลืองสีน้ำตาลสีเทาสีฟ้า หรือ สีเหล่านี้ผสมกัน เป็นต้น โดยงูที่มีโทนสีส้ม จะถูกเรียกว่า "กล่อมนางนอน" ขณะที่งูที่มีโทนสีเทาจะถูกเรียกว่า "ง่วงกลางดง" ซึ่งชาวบ้านโดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง แต่หาใช่เป็นความจริงไม่ [2]
นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ Boulenger, G.A. 1897 List of the reptiles and batrachians collected by Mr. Alfred Everett in Lombok, Flores, Sumba and Saru, with descriptions of new species.Ann. Mag. Nat. Hist. (6) 19: 503-509
  2. ^ ความหมายของคำว่า ปากจิ้งจก ๒ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
งูเขียวหัวจิ้งจก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น