วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

หนุมาน


หนุมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทวนาครี: हनुमान्
Hanuman1.jpg
จำพวกทหารของพระราม
อาวุธตรีเพชร
บิดาพระพาย
มารดาสวาหะ
คู่ครองบุษมาลี, เบญกาย, มณโฑ, วานรินทร์, สุวรรณกันยุมา, สุวรรณมัจฉา
บุตรมัจฉานุ, อสุรผัด
นับถือในธงชาติของอินเดีย อินเดีย
ธงชาติของเนปาล เนปาล
ธงชาติของศรีลังกา ศรีลังกา
ธงชาติของประเทศพม่า พม่า
ธงชาติของไทย ไทย
ธงชาติของลาว ลาว
ธงชาติของกัมพูชา กัมพูชา
ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ศาสนา/ลัทธิศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
    
หัวโขนหนุมาน
หนุมานอมพลับพลา ตอนศึกไมยราพณ์
หนุมาน เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเผือก จึงมีสีขาวเป็นสีประจำกาย เมื่อสำแดงฤทธิ์จะมี 4 หน้า 8 มือ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะประจำกายอื่นๆ อีก เช่น สวมกุณฑล มีขนเพชร มีเขี้ยวเป็นแก้ว และ หาวเป็นดาวเป็นเดือน ดังกลอนตอนที่หนุมานเกิดว่า
ลอยอยู่ตรงพักตร์ชนนีรัศมีโชติช่วงในเวหา
มีกุณฑลขนเพชรอลงการ์เขี้ยวแก้วแววฟ้ามาลัย
หาวเป็นดาวเดือนระวีวรแปดกรสี่หน้าสูงใหญ่
สำแดงแผลงฤทธิ์เกรียงไกรแล้วลงมาไหว้พระมารดร
หนุมาน เป็นลิงที่มีฤทธิ์มาก สามารถสำแดงเดชต่างๆ ได้หลายประการ เช่น การขยายร่างกายให้ใหญ่โต การยืดหางให้ยาว เป็นต้น นอกจากนี้ หนุมานยังได้ชื่อว่าเป็นอมตะ คือ ไม่มีวันตาย เนื่องจากเป็นบุตรของพระพาย (ลม) กับนางสวาหะ ด้วยเหตุนี้ เมื่อหนุมานมีอันตรายถึงตายแล้ว เพียงแค่มีลมพัดมา หนุมานก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ด้วยอำนาจของพระพายผู้เป็นบิดา

บุคลิกของหนุมานเป็นตัวแทนของชายหนุ่มทั่วไป คือ รูปงาม มีนิสัยเจ้าชู้ และ มีภรรยามาก เช่น นางสุพรรณมัจฉา ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันหนึ่งตน คือ มัจฉานุ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง ลิงเผือกกับปลา นั่นคือ มีกายเป็นลิงเผือกเหมือนหนุมาน แต่หางนั้น กลับเป็นหางของปลา นางเบญกาย บุตรีของพญาพิเภก หนุมานได้นางเบญกายตอนที่ นางเบญกายจำแลงกายเป็นศพของ นางสีดาลอยทวนน้ำมา เพื่อหลอกพระรามให้เสียพระทัย แต่ภายหนังกลนี้ถูกจับได้ พระรามจึงให้หนุมานพานางเบญจกายไปส่งกลับเมือง ซึ่งทั้งมีคู่ลูกด้วยกัน ชื่อว่า อสุรผัด
ตลอดเรื่องรามเกียรติ์นั้น หนุมานผู้เป็นทหารเอกได้รับรางวัลจากพระราม 3 ครั้ง
  1. ผ้าขาวม้า ได้ตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา
  2. ธำมรงค์ ได้จากตอนที่ไปช่วยพระรามหลังจากที่ถูกไมยราพจับไปขังไว้ที่เมืองบาดาล
  3. เมืองนพบุรีพร้อมสนม 5000 นาง ได้ในตอนที่เสร็จศึกลงกาแล้ว
การแสดงโขน ตอน หนุมานได้รับแต่งตั้งให้ครองเมืองนพบุรี
เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาแล้ว พระรามได้สถาปนาให้เป็น พระยาจักรกฤษณ์พิพรรธพงศา และยกกรุงอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แต่หนุมานได้ถวายคืนพระราม เพราะสำนึกว่าตนไม่สูงศักดิ์พอ พระรามจึงยกเมืองนพบุรีให้ครองแทน

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ลักษณะของหนุมาน

กายสีขาว มีกุณฑล (ต่างหู) ขนเพชร เขี้ยวเพชร (อยู่กลางเพดานปาก) หาวเป็นดาวเป็นเดือน ยามแผลงฤทธิ์จะมีสี่หน้า แปดกร

[แก้]ภรรยาและบุตรของหนุมาน

  1. นางบุษมาลี เป็นภรรยาคนแรกของหนุมาน
  2. เบญกาย ธิดาของพิเภก มีบุตรกับหนุมานคือ "อสุรผัด"
  3. สุพรรณมัจฉา เป็นนางเงือก ธิดาของทศกัณฐ์ ได้เป็นภรรยาขณะจองถนนข้ามกรุงลงกา มีบุตรคือ มัจฉานุ
  4. นางวารินทร์ ได้ขณะตามล่าวิรุญจำบัง
  5. นางมณโฑ ได้ขณะปลอมตัวเป็นทศกัณฐ์
  6. นางสุวรรณกันยุมา ทศกัณฐ์ประทานให้ ขณะเสแสร้งแปรพักต์ (นางเคยเป็นภรรยาอินทรชิต)
  7. นางสนมอื่นๆอีก 5,000 ตน ที่พระรามประทานหลังจากเสร็จศึกกรุงลงกา และหนุมานได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พญาอนุชิตจักรกฤษณ์พิพัฒน์พงศา

[แก้]หนุมานในประเทศต่างๆ

เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง "รามายณะ" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย [ต้องการอ้างอิง]ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้นๆ

[แก้]ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

เนื่องจาก หนุมาน เป็นตัวละคร ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้างของสังคมไทย ดังนั้น หนุมาน จึงถูกใช้เป็นสื่อในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประเภท เช่น เป็นตัวนำโชคในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2540 ที่กรุงจาการ์ต้า หรือ เป็นตัวเอกในภาพยนตร์ไทย เรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (พ.ศ. 2517) หรือ หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง(พ.ศ. 2518) เป็นต้น
ในวิดีโอเกมชุดเมกามิเทนเซย์[ต้องการอ้างอิง] หนุมานเป็นหนึ่งในปิศาจซึ่งผู้เล่นสามารถชักชวนเป็นพวกได้ และในชุดย่อย เพอโซนา ภาค3และ4นั้น หนุมานเป็นเพอโซนาในอาร์คานา Strength

[แก้]ดูเพิ่ม

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
หนุมาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น