วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ศรีสะเกษ


จังหวัดศรีสะเกษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความหมายอื่นของ ศรีสะเกษ ดูได้ที่ ศรีสะเกษ (แก้ความกำกวม)
จังหวัดศรีสะเกษ
ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ตราประจำจังหวัด
หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม
ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยศรีสะเกษ
ชื่ออักษรโรมันSi Sa Ket
ชื่อไทยอื่นๆศรีนครลำดวน, ขุขันธ์, คูขันธ์, คูขัณฑ์
ผู้ว่าราชการนายประทีป กีรติเรขา
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
นายกองค์การบริหารนายวิชิต ไตรสรณกุล
ISO 3166-2TH-33
สีประจำกลุ่มจังหวัดสีส้ม ███
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัดลำดวน
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่8,839.976 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 21)
ประชากร1,452,203 คน[2] (พ.ศ. 2554)
(อันดับที่ 8)
ความหนาแน่น164.28 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 19)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ถนนเทพา ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษจังหวัดศรีสะเกษ 33000
โทรศัพท์(+66) 0 4561 1139
เว็บไซต์จังหวัดศรีสะเกษ
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดศรีสะเกษ

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งในบรรดา 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานครประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด[3] ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ[3] มีประชากรราว 1.45 ล้านคน [4] ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาถิ่นอีสาน, ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมร ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม[5][6][7]
มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (ตำบลลำดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน) เป็นเมืองศรีนครลำดวน ต่อมาโยกย้ายลงทางใต้และได้ชื่อใหม่เป็นเมืองขุขันธ์[5][8][9] และในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อเมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481 [3]
แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษปรางค์กู่ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อยปราสาทสระกำแพงใหญ่ปราสาทเยอปราสาทหินบ้านปราสาทปราสาทหินโดนตวลบึงนกเป็ดน้ำไพรบึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา[3] ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวหอมมะลิ, ผลไม้ เช่น ทุเรียน และเงาะ, พืชสวน เช่นหอมแดงกระเทียม และยางพารา [5] ตลอดจนพืชไร่ เป็นต้นว่า มันสำปะหลัง และถั่วลิสง [3]

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]พัฒนาการในการตั้งถิ่นฐานและประวัติศาสตร์การก่อตั้ง

[แก้]สมัยก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่นี้ย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรหรือภาษาเขียน จารึกเรื่องราวต่างๆในสังคมมนุษย์) ตอนปลาย ในสมัยเหล็ก(ยุคเหล็ก)(Iron Age) ราว 2,500 ปีมาแล้ว เช่น แหล่งภาพสลักบริเวณผาเขียน-ผาจันทน์แดง ในเขตอำเภอขุนหาญ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นอกจากนั้นยังร่องรอยชุมชนสมัยเหล็กอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด เช่น กลุ่มชุมชนโบราณในเขตอำเภอราษีไศล ซึ่งปรากฏร่องรอยชุมชนที่มีหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ ที่ได้รับการฝังศพพร้อมกับวัตถุอุทิศอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กและภาชนะดินเผา ตลอดจนแบบแผนพิธีกรรมฝังศพแบบวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล-ชี หรือที่เรียกว่า"วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้"[5]

[แก้]สมัยประวัติศาสตร์

[แก้]สมัยวัฒนธรรมทวารวดี

ต่อมาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 (ประมาณ 1,400 - 1,200 ปีมาแล้ว) ชุมชนสมัยเหล็ก (โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด) ได้มีพัฒนาการต่อมาเป็นชุมชนในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทหรือหินยาน มีการจารึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้วยตัวอักษรหรือภาษาเขียนแบบโบราณ จึงจัดเป็นช่วง "ยุคหรือสมัยประวัติศาสตร์" ตอนต้น รวมทั้งมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ โดยการขุดคูน้ำและสร้างคันดินล้อมรอบเมือง เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในฤดูแล้งและใช้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ชุมชนโบราณสำคัญที่มีลักษณะผังเมืองดังกล่าวนี้ เช่น เมืองโบราณที่มีคูน้ำ-คันดิน หลายแห่งในเขตอำเภอราษีไศล, เมืองโบราณคูขัณฑ์(หรือคูขันธ์)ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน [5]

[แก้]สมัยวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17(ประมาณ 1,300 - 900 ปีมาแล้ว) ก็มีชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับกระแสวัฒนธรรมแบบขอมโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16) และพุทธศาสนา นิกายมหายาน (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) โดยปรากฏเป็นชุมชนขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หลายชุมชมมีการก่อสร้างศาสนสถานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือปราสาทหินโบราณ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่[10] ปราสาทหินสระกำแพงน้อย[11] ใน เขตอำเภออุทุมพรพิสัย , ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน[12] , ปราสาทกู่สมบูรณ์ อำเภอบึงบูรพ์, ปราสาททามจาน(หรือปราสาทบ้านสมอ)[13], ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง, ปราสาทภูฝ้าย ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณพะลานหินเขตผามออีแดง ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์, ปราสาทหนองปราสาท ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ เป็นต้น โบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทหินแบบศิลปะขอมที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษได้รับสมญานามว่า "เมืองปรางค์ร้อยกู่" หรือ "นครร้อยปราสาท" [5] [14]

[แก้]สมัยกรุงศรีอยุธยา

การสร้างบ้านแปงเมืองซึ่งเป็นต้นเค้าของการพัฒนามาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรากฏชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2232 โดยเป็นผลจากที่อาณาจักรลาวเกิดการแย่งชิงอำนาจการปกครอง ทำให้ชาวลาวกลุ่มหนึ่งประมาณ 3,๐๐๐ คน หนีภัยลงมาทางใต้ มาปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม และไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองจำปาศักดิ์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา อาณาจักรลาวก็แยกออกเป็นสามอาณาจักรคือหลวงพระบาง เวียงจันทน์และจำปาศักด นอกจากนั้น การแย่งชิงอำนาจและการแบ่งแยกบ้านเมืองดังกล่าวเป็นเหตุให้ชาวลาวหลายกลุ่มอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในเขตฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ซึ่งได้แก่พื้นที่ภาคอีสานของไทยหลายกลุ่มซึ่งเรียกกันว่า ไปครัว หรือไปอยู่บ้านใหม่ แสวงหาที่ทำกินดินดำน้ำชุ่ม วิธีการอพยพที่สำคัญคือ การอาศัยลำน้ำมูลในการเดินทางอพยพ [15] เมื่อพบชัยภูมิที่เหมาะสมก็ตั้งเมืองสร้างบ้านแปงเมืองสืบต่อกันมา ในระยะนั้น มีกลุ่มชนเผ่าที่เรียกตนเองว่า กูย จำนวน 6 กลุ่ม อพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป เขตนครจำปาศักดิ์ ข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดสุรินทร์ หัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่มได้นำไพร่พลเข้าจับจองพื้นที่รกร้างตั้งเป็นชุมชน ต่างๆ ดังนี้ [16]
  • ตากะจะ(หรือตาไกร)และ เชียงขัน มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่ ในเขตอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน)
  • เชียงปุม มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านเมืองที ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองอยู่ที่บ้านคูปทายและยกเป็นปทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน)ส่วนเมืองทีให้เชียงปิดน้องชายเป็นหัวหน้าปกครอง
  • เชียงฆะ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปึงหรือเมืองดงยาง (ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงชัย มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านจารพัต (ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงสง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลิง (ในเขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงสี (ตากะอาม) มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่กุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีฯ (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองศรีนครลำดวนต้นเค้าที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ
อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีฯ (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรก
ชุมชนชาวกูยดังกล่าวได้อยู่อาศัยเรื่อยมาจนล่วงเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ใน พ.ศ. 2302 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์(หรือพระที่นั่งสุริยามรินทร์)พญาช้างเผือกมงคลในราชสำนักแตกโรงมาจากจากกรุงศรีอยุธยา หนีเข้าป่าไปรวมอยู่กับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงเร็ก ตากะจะหรือตาไกรและเชียงขันพร้อมด้วยหัวหน้าชาวกูยเขมรป่าดงได้รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้แล้วนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้"ตากะจะ" หรือ "ตาไกร" เป็น "หลวงแก้วสุวรรณ" ตำแหน่งหัวหน้านายกอง ปกครองหมู่บ้าน โดยโปรดให้ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนขึ้นเป็น เมือง"ศรีนครลำดวน" ต่อมาเมืองศรีนครลำดวนขาดแคลนน้ำ จึงโปรดให้ย้ายไปจัดตั้งเมืองใหม่ที่ริมหนองแตระห่างจากเมืองเดิมไปทางใต้ เมืองใหม่เรียก "เมืองคูขัณฑ์" หรือ "เมืองคูขันธ์"(หมายถึงเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ แต่ต่อมาชื่อนี้ได้เพี้ยนมาเป็น "ขุขันธ์") ซึ่งได้แก่อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน จนล่วงปีพุทธศักราช 2306 หลวงแก้วสุวรรณนำเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ความชอบครั้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้หลวงแก้วสุวรรณ เป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน ตำแหน่ง "เจ้าเมือง"คูขัณฑ์ คนแรก [17] [18] [19]

[แก้]สมัยกรุงธนบุรี

ลุถึงสมัยกรุงธนบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2319 – พ.ศ. 2320 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน) โปรดเกล้าฯ มีรับสั่งให้ พระยาจักรี (ทองด้วง) ไปทำศึกปราบกบฏกับเวียงจันทน์ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) และ ”หลวงปราบ” ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยรบอย่างเข้มแข็งจนได้รับชัยชนะทุกครั้ง ถือว่ามีความดีความชอบจึงได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็น “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน“ [20] [21] [22]

[แก้]สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2325 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองคูขัณฑ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่คือ เมืองศีร์ษะเกษ
พ.ศ. 2354 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองขุขันธ์ ขอพระราชทานพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ยกบ้านลังเสนเป็น เมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายเมืองกันทรลักษณ์มาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็น เมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ
พ.ศ. 2386 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านลำโดมใหญ่ เป็น เมืองเดชอุดม ขึ้นกับเมืองขุขันธ์
พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านไพรตระหมักและบ้านตาสี เป็น เมืองมโนไพร ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศกัมพูชาเรียกเมืองมะลูเปรย)
พ.ศ. 2418 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มืองหนองคายเกิดกบฏโดยกลุ่มฮ่อ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพคุมกองทัพจากนครราชสีมา และกองทัพจากเมืองต่างๆ รวมทั้ง เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม และเมืองศรีสะเกษ ไปปราบกบฏฮ่อที่หนองคาย สามารถตีกลุ่มกบฏฮ่อแตกพ่ายยับเยิน ที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลยทั้งหมด
พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ เริ่มใช้นโยบายเลิกทาส มีสารตรา ไปยังหัวเมืองด้านตะวันออก ห้ามมิให้จับข่า ( กวย หรือส่วย ) มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนและใช้สอยการงานต่าง ๆ และส่วนผู้ใดได้ซื้อหามาจากผู้ใดอยู่ก่อนนั้น ก็ให้อยู่กับผู้นั้นต่อไป เพราะถ้าจะให้ข้าทาสนั้นหลุดพ้นค่าตัวไปก็จะเป็นเหตุเดือดร้อนแก่มูลนาย ผู้ซื้อและแลกเปลี่ยนมาก่อนนั้น
พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านโนนหินกอง เป็น เมืองราษีไศล ขึ้นกับเมืองศีร์ษะเกษ
พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้วางโครงข่ายระบบโทรเลขจากเมืองขุขันธ์ไปยังเมืองต่างๆ 2 สายคือ สร้างทางสายโทรเลขขุขันธ์-จำปาศักดิ์ และสร้างทางสายโทรเลขจากเมืองขุขันธ์-มโนไพร-เมืองเสียมราฐ
พ.ศ. 2434 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศีร์ษะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว
พ.ศ. 2435 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทล ขึ้น โดยให้เมืองศีร์ษะะเกษขึ้นอยู่กับมณฑลอีสาน [23]
พ.ศ. 2436 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวขุขันธ์และชาวศรีสะเกษจะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พ.ศ. 2436 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง )ป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์ โดยรวมเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ เป็นบริเวณเดียวกัน ตั้งที่ทำการข้าหลวง ณ เมืองขุขันธ์
พ.ศ. 2445 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนชื่อ มณฑลอีสาน เป็น มณฑลอุบล มีเมือง 3 เมืองขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุบล คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์ ช่วงดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อเมืองศีรษะเกษ สันนิษฐานว่าเมืองศีร์ษะเกษถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองขุขันธ์ซึ่งเป็นเมืองเก่ามาแต่เดิม
พ.ศ. 2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์(ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ "เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)
ครั้น พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมบ้านเมืองขุขันธ์(คูขัณฑ์ หรือ คูขันธ์) เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียก "เมืองขุขันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น