วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

วงศ์ปลาการัง


ศ์ปลากะรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลากะรัง
ปลากะรังหน้างอน (Cromileptes altivelis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Perciformes
อันดับย่อย:Percoidei
วงศ์ใหญ่:Percoidea
วงศ์:Serranidae
วงศ์ย่อย[1]
ชื่อพ้อง[1]
  • Grammistidae
  • Pseudogrammidae
วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (อังกฤษGrouperวงศ์: Serranidae) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 3 วงศ์ (ดูในตาราง) พบได้ทั้งน้ำจืดน้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae
เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก[2]
พบในปัจจุบัน 46 สกุล 449 ชนิด มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล(Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้
ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้
สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามาถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง
มีชื่อสามัญในภาษาไทยอื่น ๆ เช่น "ปลาเก๋า" หรือ "ปลาตุ๊กแก" [3]

[แก้]อ้างอิง

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น