วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาสวยา

ปลาสวาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวาย
ปลาวัยใหญ่
ลูกปลาวัยอ่อน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Siluriformes
วงศ์:Pangasiidae
สกุล:Pangasius
สปีชีส์:P. hypophthamus
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasius hypophthalmus
(Sauvage, 1878)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์และอพยพย้ายถิ่นของปลาสวาย
ชื่อพ้อง
  • Pangasius sutchi
  • Pangasianodon hypophthalmus
ปลาสวาย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasianodon hypophthalmus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก (Pangasianodon gigas) รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร
พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพ (P. larnaudi) เข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม [1]

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ปลาสวาย

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ กินปลาน้ำจืดแหล่งโอเมกา 3 ไม่แพ้ปลาทะเล

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

สวาย
ปลาวัยใหญ่
ลูกปลาวัยอ่อน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Siluriformes
วงศ์:Pangasiidae
สกุล:Pangasius
สปีชีส์:P. hypophthamus
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasius hypophthalmus
(Sauvage, 1878)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์และอพยพย้ายถิ่นของปลาสวาย
ชื่อพ้อง
  • Pangasius sutchi

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น